Intergenerational Relations: ความสัมพันธ์ครอบครัวในสังคมสูงวัย

image

Intergenerational Relations: ความสัมพันธ์ครอบครัวในสังคมสูงวัย

โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งในแง่ความหลากหลายของอายุและรุ่น บทบาทและหน้าที่ รวมถึงรูปแบบความคาดหวังและความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ครอบครัวที่มีสมาชิกหลายรุ่นอาศัยอยู่รวมกันเพิ่มมากขึ้น เพื่อต้อนรับวันครอบครัว วันนี้เรามาทำความรู้จักกับความสัมพันธ์ต่างรุ่นในครอบครัวกัน

การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างครอบครัว

1900

2000

2030

ความสัมพันธ์ต่างรุ่น (Intergenerational Relations)

ความสัมพันธ์ต่างรุ่นในครอบครัวจำแนกเป็น 5 ประเภท ตามปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกันใน 3 มิติ คือ ความใกล้ชิดทางความรู้สึก (Emotional Closeness) ความถี่ในการติดต่อ (Frequency of Contact) และการสนับสนุนทางสังคม (Social Support)

Tight-knit Family

(EC: üFC: ü SS: ü)

ครอบครัวผูกพันแนบชิด มีความใกล้ชิดสนิทสนม ติดต่อหากันอยู่เสมอ และคอยช่วยเหลือดูแลกันในสมาชิกทุกรุ่น

Sociable Family

(EC: üFC: ü SS: û)

ครอบครัวที่สมาชิกแต่ละรุ่นใกล้ชิดสนิทสนมและติดต่อหากันอยู่เสมอ แต่ไม่ได้ดูแลกันและกันเท่าไรนัก

Intimate Family

(EC: üFC: û SS: ü)

ครอบครัวที่ใกล้ชิดสนิทสนมกัน แม้ไม่ได้ติดต่อกันบ่อยครั้ง แต่ยังพึ่งพาและช่วยเหลือดูแลกันในครอบครัว

Obligatory Family

(EC: û FC: ü SS: ü)

ครอบครัวที่พบเจอกันบ่อยและให้ความช่วยเหลือกันเมื่อจำเป็น แต่ไม่ได้รู้สึกใกล้ชิด
สนิทสนมกันเท่าไรนัก

Detached Family

(EC: û FC: û SS: û)

ครอบครัวที่ห่างเหิน ไม่ใกล้ชิดสนิทสนมกัน ไม่ได้ติดต่อหากันบ่อย และไม่ได้ให้การสนับสนุนกันและกัน

ความสัมพันธ์ต่างรุ่นมีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ซึ่งการรักษาความสัมพันธ์ต่างรุ่นให้แข็งแรงต้องอาศัยความเข้าใจและการเสริมสร้าง 4R นี้ ได้แก่ (1) ความเคารพ (Respect) โดยเฉพาะสำหรับเด็กมีต่อผู้ใหญ่ แสดงถึงการให้ความสำคัญและความผูกพัน (2) ความรับผิดชอบ (Responsibility) ในการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวตามความจำเป็น
(3) การตอบแทนซึ่งกันและกัน (Reciprocity) เด็กสนับสนุนผู้ใหญ่ ขณะที่ผู้ใหญ่ก็ให้ความช่วยเหลือเด็ก และ (4) ความยืดหยุ่น (Resiliency) ในการจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครอบครัว

Reference

Brubaker, T. & Brubaker, E. 1999. The Four Rs of Intergenerational Relationships: Implications for Practice. Michigan Family Review, 4(1).

Gillen, M., Mills, T. & Jump, J. 2018. Family Relationships in an Aging Society. Aging in the 21st Century. DOI: doi.org/10.32473/edis-fy625-2003

Putney, N. & Bengtson, V. 2003. Intergenerational Relations in Changing Times. In Mortimer, J. & Shanahan, M. (eds) Handbook of the Life Course: Handbooks of Sociology and Social Research. Boston: Springer. DOI: doi.org/10.1007/978-0-306-48247-2_7

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด