การพัฒนาระบบคลังข้อมูลสารสนเทศสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษา
          สำนักงานฯ พัฒนาระบบคลังข้อมูลสารสนเทศสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษาตามตัวชี้วัดที่กำหนด โดยจัดเก็บข้อมูลรายโรงเรียน/จังหวัด เพื่อประมวลผลและนำเสนอผลประเมินระดับประเทศ ภูมิภาค และจังหวัด รวมทั้งพัฒนาระบบ GIS นำเสนอผลการประเมินรายพื้นที่ จำแนกตามตัวชี้วัด ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่นำมาพัฒนาระบบคลังข้อมูลฯ เน้นตัวชี้วัดที่สามารถรวบรวมได้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดเก็บไว้แล้ว  

          ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔  จัดทำตัวชี้วัดภายใต้กรอบตัวชี้วัด ๒ กรอบ รวม ๒๗ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
          ๑ ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในรายงานการออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูลและระบบการประมวลผลข้อมูลสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ  จำนวน ๑๐ ตัวชี้วัด
          ๒ ตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง จำนวน ๑๗ ตัวชี้วัด

ทั้งนี้ ข้อมูลรวบรวมเข้าสู่ระบบ เป็นข้อมูลปี ๒๕๔๙-๒๕๕๔ ดังรายการตัวชี้วัดต่อไปนี้ 

ตัวชี้วัดตามกรอบ ๑ ตัวชี้วัดและเป้าหมาย ตามกรอบ ๒
๑. อัตราการเข้าใหม่ของประชากรวัยเรียน (Gross Intake Rate)
๒. อัตราการเข้าใหม่เปรียบเทียบระหว่างเพศ
๓. อัตราการเข้าเรียนของประชากรวัยเรียน (Gross Enrollment Rate)
๔. อัตราการเข้าเรียนเปรียบเทียบระหว่างเพศ
๕. อัตราส่วนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ : สายอาชีพ (ม.๔ -๖/ ปวช. ๑-๓)
๖. ร้อยละของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลการทดสอบ O-net อยู่ในระดับดี (มากกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ)
๗. ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป (ตามผลประเมินภายนอก รอบสอง)
๘. ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตในระดับดีขึ้นไป (ตามผลประเมินภายนอก รอบสอง)
๙. ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในภาพรวมของสถานศึกษา
๑๐. ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร
๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติ (O-Net) มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ ๕๐
๒) ผลสัมฤทธิ์การศึกษาด้านคณิตและวิทย์ จากผลการทดสอบนานาชาติ (PISA) เพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ
๓) ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ ต่อปี
๔) สัดส่วนผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา : สามัญศึกษา เป็น ๖๐ : ๔๐
๕) ปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยอายุ ๑๕-๕๙ ปี เพิ่มขึ้นเป็น ๑๒ ปี
๖) อัตราการรู้หนังสือของประชากร อายุ ๑๕-๖๐ ปีเป็นร้อยละ ๑๐๐
๗) เวลาที่คนไทยใช้ในการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน โดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ ๖๐ นาที
๘) สัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไปเป็นร้อยละ ๕๐
๙) ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นพลเมืองในระดับดีขึ้นไป (ตามผลประเมินภายนอก รอบสอง)
๑๐) จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี ๑๑) จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ตั้งครรภ์ ลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี
๑๒) ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองในระดับดีขึ้นไป (ตามผลประเมินภายนอก รอบสอง)
๑๓) จำนวนเด็กและเยาวชนอายุ ๒๔ ปีลงมาเข้ารับการบำบัดยาเสพติด ลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี
๑๔) ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ในระดับดีขึ้นไป (ตามผลประเมินภายนอก รอบสอง)
๑๕) ผู้สำเร็จอาชีวศึกษา/อุดมศึกษาได้งานทำภายใน ๑ ปี รวมทั้งประกอบอาชีพอิสระ
๑๖) กำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๖๕
๑๗) คะแนนความพึงพอใจของนายจ้างและผู้ประกอบการต่อผู้สำเร็จอาชีวศึกษา/อุดมศึกษา

          ปี ๒๕๕๘  มีแผนการปรับปรุงตัวชี้วัดในระบบคลังข้อมูลฯ ให้เป็นปัจจุบันต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับสำนักงานฯ โดยสำนักประเมินผลการจัดการศึกษากำหนดประเมินผลการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๙) ( กรอบ ๓ ) ซึ่งกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดเชิงปริมาณไว้ ๕ ตัวชี้วัด 


แนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดในระบบปี ๒๕๕๘


ผู้สนใจสามารถเรียกดูผลประเมินในระบบคลังข้อมูล
          -ดูผลประเมินรายตัวชี้วัด ในระดับประเทศ ภูมิภาค และจังหวัด ได้ที่ http://www.Thaiedeva.org และระบุ UserID : Thaiedevaguestonec และ password : FORedeva#2015 
          - ตัวอย่างผลประเมินนำเสนอในรูปแบบตารางและกราฟ (พัฒนาแล้วเสร็จปี ๒๕๕๔ ข้อมูลปี ๒๕๔๙-๒๕๕๔)

          - ตัวอย่างผลประเมินนำเสนอในรูปแบบแผนที่ประเทศไทย (พัฒนาแล้วเสร็จปี ๒๕๕๕ และ Update ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน - ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๗)

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด