นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต:::การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
           รัฐบาลจะนำการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ และความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรมควบคู่กันดังนี้
             1 จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ
             2 ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา และปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง
             3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ กระจายอ้านาจการบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามศักยภาพและความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคลและบริหารจัดการได้อย่างอิสระและคล่องตัวขึ้น
             4 พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถมีความรู้และทักษะใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคตปรับกระบวนการเรียนรู้และหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และคุณธรรมเข้าด้วยกันเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปัญหาการรับฟังความเห็นผู้อื่น การมีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดีโดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน
             5 ส่งเสริมอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความต้องการแรงงาน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ
             6 พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นส้าคัญ
             7 ทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมตามความพร้อม
             8 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาไทยและภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อการเรียนรู้สร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทย นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
             9 สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากล และการสร้างสรรค์งานศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อเตรียมเข้าสู่เสาหลักวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนและเพื่อการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
             10 ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อคุณภาพ เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
 
คำแถลงนโยบายรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (PDF)
คำแถลงนโยบายรัฐบาล

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี

แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 ประกอบด้วย เรื่องต่างๆ ดังนี้
  1. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
  2. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
  3. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
  4. การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
  5. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน
  6. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
  7. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
  8. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
  9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  10. การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและพฤติกรรมมิชอบในภาครัฐ
  11. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
นโยบายรัฐบาลของนายกชุดต่าง ๆ
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 นับจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 29 คน ดังนี้
             29. พลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งวันที่ 24 สิงหาคม 2557
             28. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งวันที่ 5 สิงหาคม 2554 พ้นตำแหน่งวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
             27. นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งวันที่ 19 ธันวาคม 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 10 พฤษภาคม  2554 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
             26. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2551 พ้นตำแหน่งวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน
             25. นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งวันที่ 29 มกราคม 2551 พ้นตำแหน่ง วันที่ 9 กันยายน 2551 จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุ ละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 กรณีห้ามนายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐบาลทำงานใด ๆ ให้กับบริษัทเอกชน ขณะดำรงอยู่ในตำแหน่ง
             24. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 ตุลาคม 2549 พ้นตำแหน่งวันที่ 29 มกราคม 2551 หมดวาระตามรัฐธรรมนูญ
             23. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 พ้นตำแหน่งวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังถูกรัฐประหาร
             22. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 พ้นตำแหน่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 โดยการลาออก
             21. นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2538 พ้นตำแหน่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 เมื่อยุบสภา
             20. นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 และอีกครั้งในปี 2540 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
             19. พลเอกสุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 เมษายน 2535 พ้นตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
             18. นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งวันที่ 2 มีนาคม 2534 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กันยายน 2535 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
             17. พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะ รสช.ทำรัฐประหาร
             16. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 พ้นตำแหน่งวันที่ 4 สิงหาคม 2531 เมื่อยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
             15. พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 พ้นตำแหน่งวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยการลาออกกลางสภา
             14. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งวันที่ 8 ตุลาคม 2519 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยการรัฐประหารนำโดยพล.ร.อ.สงัด
             13. พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 พ้นตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 เพราะยุบสภา
             12. นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พ้นตำแหน่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญปี 2517ฅ
             11. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 ธันวาคม 2506 เพราะถึงแก่อสัญกรรม
             10. จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 1 มกราคม 2501 และอีกครั้งในปลายปี 2506 ก่อนจะพ้นตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 หลังการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชน
             9. นายพจน์ สารสิน ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กันยายน 2500 ตามมติสภาผู้แทนราษฎร และพ้นตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เป็น ครม.ชุดที่ 27
             8. พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) ดำรงตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยการทำรัฐประหารนำโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ
             7. นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ดำรงตำแหน่งวันที่ 24 มีนาคม 2489 พ้นตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม 2489 โดยการลาออก
             6. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งครั้งแรกวันที่ 17 กันยายน 2488 และอีกครั้งในต้นปี 2519 ก่อนพ้นตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ด้วยการทำรัฐประหาร นำโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
             5. นายทวี บุณยเกตุ ดำรงตำแหน่งวันที่ 31 สิงหาคม 2488 พ้นตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2488 เนื่องจากลาออก เพื่อให้ผู้เหมาะสมมาแทน
             4. พันตรีควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 สิงหาคม 2487 พ้นตำแหน่งวันที่ 8 เมษายน 2491 โดยถูกคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออก

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด