อรรถพล เดินหน้าปี 65 เคลื่อนงาน NQF สัญจรขยายผล 8 สาขาสู่ 42 สาขาอาชีพ

image


     วันนี้ (3 ธันวาคม 2564) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือการขับเคลื่อนงานกรอบคุณวุฒิปห่งชาติ (NQF) ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พร้อมประชุมผ่านวีดิทัศน์ทางไกล (VDO Conference) โดยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อรรถพล สังขวาสี) พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนวิทยาลัยนำร่องต้นแบบการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนตาม NQF ทั้ง 8 แห่ง ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดต่อยอดการขับเคลื่อนงาน ณ ห้องวชิราวุธ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 


     นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า การขับเคลื่อน NQF ต้องมุ่งเน้นย้ำการบูรณาการมากขึ้นระหว่างบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกาา (สกศ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อชี้ถึงปัญหาที่ชัดเจนและแนวทางแก้ไขอย่างตรงจุดเพื่อกำหนดนโยบายและความร่วมมือที่เข้มแข็งและขับเคลื่อนงาน NQF เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

 

     ทั้งนี้ การนำ NQF และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบัติ มุ่งเน้นการผลิตและการพัฒนากำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยใช้ NQF เชื่อมโยงระบบการศึกษาและการอาชีพ โดยใช้กลไกการเทียบโอนประสบการณ์ด้วยธนาคารหน่วยกิต (CreditBank) และการจัดทำมาตรฐานอาชีพในสาขาที่สามารถอ้างอิงอาเซียนได้ นับเป็น 1 ใน 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วนของ ศธ. 

     ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคน ประกอบด้วยผลการประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 การขับเคลื่อนงาน NQF ภายใต้ 5 กลยุทธ์หลักในแผนขับเคลื่อน NQF สู่การปฏิบัติ พ.ศ. 2562 - 2565 รวมทั้งการจัดทำและขับเคลื่อนงานตามแผนการผลิตกำลังคนตามช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ โดยหารือกันอย่างกว้างขวางในหลายประเด็นที่ต้องสร้างความเชื่อมโยงทั้ง 3 ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ สร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับเจ้าของอาชีพ 2.ระดับกลางน้ำ สร้างกลไกการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ องค์กรวิชาชีพ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ และ 3.ระดับปลายน้ำ การเพิ่มระดับคุณภาพของผู้สำเร็จอาชีวศึกษาทวิภาคี โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเน้นฝึกปฏิบัติเพื่อผลักดันการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีสัดส่วนอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ให้สอดคล้องความต้องการของตลาดแรงงานอยู่ในภาวะสมดุล


     ข้อมูลสำคัญจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในช่วงไตรมาสสามปี 2564 พบมีอัตราการว่างงาน มีจำนวนผู้ว่างงานสูงถึง 8.7 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 2.25 ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ขณะเดียวกันข้อมูลชี้ด้วยว่าในหลายอุตสาหกรรมยังคงขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะฝีมือสอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง และตอบโจทย์ในภาคธุรกิจนั้น ๆ เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งกลุ่มสายอาชีพหรืออาชีวศึกษายังเป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบัน และสำคัญไม่น้อยไปกว่าผู้ที่เรียนจบระดับอุดมศึกษา ดังนั้น จำเป็นต้องขับเคลื่อนการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบนำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงานรองรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเพื่อสนับสนุนการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว 


     ที่ประชุมยังได้ปรึกษาหารือร่วมกันถึงแนวทางการขับเคลื่อนงาน NQF ในห้วงปีงบประมาณ 2565 และระยะถัดไปในหลายประเด็น อาทิ การขับเคลื่อนงานตามนโยบาย รมว.ศธ. ข้อที่ 7 คือ การขับเคลื่อนงาน NQF และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) และต่อยอดการดำเนินงานของคณะกรรมการ NQF ทั้ง 4 คณะ และคณะทำงานภายใต้คณะอนุ ฯ 


     ด้าน ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. สรุปแนวทางการขับเคลื่อน NQF ในปี 2565 เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือในการผลิตและพัมนากำลังคนทั้งทีมประเทศไทย ภาคเอกชน และเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ ดำเนินการขยายผลการพัฒนาหลักสูตรขยายจาก 8 สาขาอาชีพสู่ 42 สาขา ขยายความครอบคลุมไปทุกวิชาสาขา/แผนกในวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยชลบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ทั้งยังต้องพัฒนาครู จัดทำคู่มือ โดยต่อยอด NQF สัญจรในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังเร่งถอดบทเรียน และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ผ่านกลไกคณะอนุ ฯ

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด