เลขาธิการสภาการศึกษา รับมอบนโยบาย รมว.ศธ. เร่งขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาเชิงพื้นที่ผ่านกลไก กศจ.

image

        วันนี้ (๖ กุมภาพันธ์ ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) ประธานเปิดการประชุมสัมมนาการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล) พร้อมด้วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.กมล รอดคล้าย) ผู้แทนหน่วยงาน ๕ องค์กรหลัก ผู้ว่าราชการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมสัมมนานโยบายทิศทางการปฏิรูปการศึกษา ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

 
   
   

        นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอเน้นย้ำให้หน่วยงาน ๕ องค์กรหลัก และข้ราราชการกระทรวงศึกษาธิการ เร่งสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และรับสนองพระบรมราโชวาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเน้นย้ำให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง ทรงพระปรีชาอย่างยิ่งด้านการส่งเสริมการศึกษา โดยเฉพาะการสร้างบุคลิกภาพอุปนิสัยที่ดีงามแก่เด็กรุ่นใหม่ (Caracter Education) คือ ปรับทัศนคติ และปรับพื้นฐานชีวิตด้านอุปนิสัยให้มีคุณธรรม อบรมเด็กให้เป็นคนดีมีศีลธรรม จรรยา วัฒนธรรม และสำนึกรับผิดชอบ โดยขับเคลื่อนตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ดึงพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ส่วนกลาง ภูมิภาค ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตเชิงพื้นที่ ภายใต้แนวทางขับเคลื่ิอนด้วยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)

 
   

       หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายพัฒนาการศึกษา การจัดการศึกษาในพื้นที่ และแนวทางการบริหารงานภายใต้ กศจ. ว่า ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมใน กศจ. กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาเชิงพื้นที่ และขับเคลื่อนงานผ่านคณะอนุกรรมการหลัก ๓ คณะ ๑.คณะอนุกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ๒.คณะอนุกรรมการ ปยป. (ด้านพัฒนาการศึกษา) และ ๓.คณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคล สิ่งที่ทำได้ทันทีคือ เลือกบุคคลที่เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาทำงานพัฒนาด้านการศึกษา กู้วิกฤติสถานศึกษา ไอ.ซี.ยู. กลับคืนสู่ภาวะปกติ ขอร้องให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นครูใหญ่ของจังหวัดในฐานะประธาน กศจ. ช่วยกันจัดระบบ กศจ. ให้เข้ารูปเข้ารอยประสานพลังความร่วมมือกันทั้งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน ไม่แบ่งสี แบ่งฝ่ายขับเคลื่อนการศึกษาชาติ และขอความร่วมมือตรวจสอบและดูแลสถานศึกษาในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

 
   

       ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงแนวทางดำเนินการของ กศจ. ว่า กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจสนองนโยบายรัฐบาล ๖ เรื่องสำคัญ ๑.แบ่งแยกอำนาจหน่วยงาน ๕ องค์กรหลักอย่างชัดเจน ส่วนกลาง ศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ลงลึกไปถึงสถานศึกษา ๒.เร่งจัดตั้งคณะอนุกรรมการหลัก ๓ คณะ ๑) คณะอนุกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ๒) คณะอนุกรรมการ ปยป. (ด้านพัฒนาการศึกษา) และ ๓) คณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคล ๓. เร่งกระจายอำนาจสู่จังหวัดอย่างแท้จริง ๔.ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณให้กับ ศธภ./ศธจ. ปี ๒๕๖๐ จำนวน ๕๐๐ ล้านบาท และปี ๒๕๖๑ จำนวน ๒,๒๐๐ บาท ๕.ส่วนกลางมอบอำนาจบริหารงานอย่างชัดเจนแก่ ศธภ./ศธจ.  และ ๖. เร่งตั้งศูนย์ขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้ายกสรศึกษษในภูมิภาค คาดจะเริ่มได้เดือนมีนาคม ๒๕๖๐

 

       ด้าน ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษแนวทางการบริหารจัดการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ ว่า ศธภ. และ ศธจ. จะก้าวเข้ามามีบทบาทการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเน้นการบูรณาการเชิงพื้นที่ ตามแนวทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตราสำคัญที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาโดยตรง คือ มาตรา ๕๔ มาตรา ๒๕๘ และมาตรา ๒๖๑ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ขับเคลื่อนเชิงนโยบายผ่านแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) และอาศัยกลไก กศจ. ผ่าน ศธภ. และ ศธจ. ลงลึกไปถึงสถานศึกษา และต้องพัฒนาเข้าให้ถึงชั้นเรียนให้ได้ จึงสามารถแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาได้อย่างแท้จริง

       "ทิศทางการขับเคลื่อน กศจ. ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมทั้งเครือข่ายการศึกษาประชารัฐทั่วประเทศ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในกลุ่มจังหวัดตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี และบูรณาการการใช้งบประมาณเชิงพื้นที่และบริบทของจังหวัด" เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าว

       นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) กล่าวถึงบทบาทผู้ว่าราชการจังหวัดในการพัฒนาการศึกษา ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ตนเองอย่างเป็นรูปธรรม ๓ แนวทางสำคัญ ๑.ขับเคลื่อนงานด้านการบริหารงานบุคคล/ด้านการศึกษาภายใต้ กศจ. อย่างโปร่งใส เป็นธรรมตามกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย ๒.ขับเคลื่อนอำนาจหน้าที่ของ กศจ. ตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล พิจารณาจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดให้อสอดคล้องบริบทเชิงพื้นที่ และ ๓.วิเคราะห์แก้ไขปัญหาตามดัชนีชี้วัดสำคัญ ๔ เรื่องหลักคือ ครูต้องอยู่ติดห้องเรียน นักเรียนต้องอ่านออกเขียนได้ คิดเลขได้ และมีความประพฤติดี มีคุณธรรม

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด