สกศ. จัดเสวนา Literacy ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

image

 


 

         วันนี้ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๑ ดร. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานการเสวนา เรื่อง Literacy ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ณ ห้องกำแหง พลางกูร สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา โดยมี Mr. Ichiro Miyazawa Program Specialist สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ มาบรรยายพิเศษ เรื่อง Literacy for lifelong learning ทั้งนี้ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ร่วมเสวนาเรื่อง Literacy ที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วย

 

         ดร. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวโดยสรุปว่า สำนักงานได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (3Rs8Cs) ประกอบด้วย 3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetic) 8Cs ได้แก่ (๑) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem solving) (๒) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and innovation) (๓) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural understanding) (๔) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration teamwork and leadership) (๕) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communication /information and media literacy) (๖) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT literacy) (๗) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and learning skills) และ (๘) ความเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion)
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ ร่าง มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ และรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกศตวรรษที่ ๒๑ และมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๔ ประการ ประกอบด้วย ผู้มีความเป็นพลเมืองดี ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม และผู้มีทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต







 

          แผนการศึกษาแห่งชาติฯ และ ร่างมาตรฐานการศึกษาฯ จะเน้นให้ความสำคัญกับ Literacy ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงเฉพาะการอ่านออกเขียนได้ และคิดเลขเป็นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Literacy และ soft skill ด้านอื่นๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ซึ่ง องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ให้กระบวนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับ Literacy ไว้ว่ามิได้หมายถึงทักษะในการอ่าน เขียน และการคิดเลข เท่านั้น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน literacy ยังหมายรวมถึง กระบวนการหรือวิธีการในการแยกแยะ ทำความเข้าใจ แปลความ สร้างสรรค์ และการสื่อสารในเรื่องใดๆ ในโลกยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานหลายองค์กร พยายามพัฒนาชุดความรู้เกี่ยวกับ Literacy รูปแบบใหม่ อาทิ Financial literacy, Health literacy, Civic Literacy, Media literacy ซึ่งทักษะตาม Literacy ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนใน ร่าง มาตรฐานการศึกษาของชาติ ฉบับใหม่เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Literacy ในทุกมิติ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดการประชุมเสวนา เรื่อง Literacy ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ครั้งนี้ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และตัวอย่างความสำเร็จ เกี่ยวกับ Literacy ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑
 

 

 
ท่านสามารถดูภาพบรรยากาศได้ที่
 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด