สกศ. เดินหน้ารับฟังความคิดเห็น (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่

image



         วันนี้ (๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐) ดร. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ รองเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานการประชุมและนำเสนอ (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. …  โดยมีนางสาวสมรัชนีกร อ่องเอบ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กล่าวรายงาน   ณ ห้องประชุมฟ้มมุ่ย โรงแรมเชียงใหม่ ออคิด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ผู้บริหาร ศึกษาธิการจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ฯลฯ เข้าร่วมประชุม


 

         นางสาวสมรัชนีกร อ่องเอิบ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษามีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผนมาตรฐานการศึกษาของชาติ ฯลฯ ซึ่งมาตรฐานการศึกษานี้จัดทำขึ้นคร้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗  และใช้มาถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า  ๑๐ ปี แล้ว และเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นอย่างมาก   ประเทศไทย ขณะนี้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีแผนการศึกษาแห่งชาติ ๒๐ ปี  รวมทั้งสังคมเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ จึงถึงเวลาที่กลับต้องมา

         ทบทวนมาตรฐานการศึกษาของชาติให้ทันสมัย  สกศ. จึงได้ศึกษามาตรฐานของต่างประเทศ   ประชุมระดมความคิดเห็นของทรงคุณวุฒิ  รวมถึงได้จัดทำโพลเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนถึงลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย  รวมทั้งยังให้ความสำคัญกับแนวทางจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ "สี่เสาหลักทางการศึกษา" ของยูเนสโก ซึ่งประกอบด้วยการเรียนรู้ใน ๔ ลักษณะ คือ ๑. การเรียนรู้เพื่อรู้  ๒.การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติจริง  ๓.การเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น และ ๔.  การเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิต 

         โดยได้นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติ   ร่างฯ ฉบับนี้ จึงมี ตัวชี้วัดน้อยลงแต่มีเนื้อหาเข้มข้นมากขึ้น มีสาระที่เหมาะกับบริบทของพื้นที่มาขึ้น    

เมื่อจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติเสร็จแล้ว สกศ. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของ

         ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดใน ๕ ภูมิภาค ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ คร้งแรกภาคใต้ ที่จ. สงขลา  คร้งที่ ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จ. ขอนแก่น ส่วนคร้งต่อไป ภาคตะวันออก จัดที่ จ. ชลบุรี และครั้งสุดท้ายภาคกลางที่ กทม.  เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้ท้งหมดมาปรับและพัฒนามาตรฐานการศึกษาของชาติให้ครอบคลุม ชัดเจน สามารถนำสู่การปฏิบัติต่อไป

         จากนั้นมีการนำเสนอ มาตรฐานการศึกษากับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย “ โดย รองศาสตราจารย์ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนำเสนอ “ความต้องการกำลังคนของผู้ประกอบการ”  โดย นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก สภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ และนำเสนอง



         รศ ดำรงค์  ทวีแสงสกุลไทย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

กล่าวโดยสรุปว่า การจัดการศึกษาของเอเชียยังตามหลังยุโรปและอเมริกา เพราะเด็กยังไม่สามารถสะท้อนอะไรได้ จะทำตามครูทั้งหมด ครูเป็นบรรทัดฐาน จึงยังขาดความคิดสร้างสรรค์   ในการประชุมยูเนสโกที่มีกว่า ๑๙๐ ประเทศทั่วโลกร่วมประชุมมีมติด้านการศึกษาร่วมกันว่า  การศึกษาต้องไม่ถูกจำกัด การศึกษาสามารถข้ามแดนได้ และให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาร่วม  ทั้งต้องให้ความคล่องตัวแก่เด็ก  ควรจัดการศึกษาที่ให้เด็กได้เรียนรู้แบบคล่องตัว และความรู้มีหลากหลาย ไม่ใช่สอนแต่ความรู้เก่าๆ  ควรเปลี่ยนการสอนแบบ teaching เป็น Learning และแนะให้ใช้หลักแนวคิดของบลูม (Bloom ) ๖ ขั้น มาพัฒนาการศึกษา คือ ๑. Surveying   ให้เด้กช่างสังเกต ๒.Understanding  เมื่อไม่เข้าใจมาถามครู  ครูเปล่ยนบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ชี้แจงให้เด็กเข้าใจ ๓  .Acting  เด็กได้ลงมือทำจริง ๔.Analysing เด็กรู้จักวิเคราะห์่ ๕.Evaluating เด็กต้องรู้จักลำดับความสำคัญ สามารถคิดแยกแยะ จัดลำดับความสำคัญได้ และ ๖.Creating ต้องมีความคิดสร้างสรรค์   ซึ่งไทยควรใช้หลักนี้ในการจัดการศึกษา ทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดความคิดนวัตกรรม นอกจากนี้การจัดการศึกษาควรทำให้เด้กมีความพร้อมใน ๓ ด้าน ด้วยคือ ๑.ทัศนคติ  เยาวชนต้องมีทัศนคติที่ดีต่อประเทศ  ศาสนา สังคม ๒. มีความรู้ ๓.มีทักษะในภาคปฏิบัติ  ซึ่งมาเลเซ๊ยขณะนี้ก็เสนอระบบประเมินGPA แบบใหม่ ที่เด็กจบมาไม่ดูที่เกรดอย่างเดียว แตใช้ทั้งความรู้  ทัศนคติและทักษะเป็นตัววัดด้วย   สำหรับข้อเสนอที่ต้องการเสนอต่อสกศ. คือ ควรทบทวนนโยบาย แผนยุทธศาสตร์และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับให้สอดคล้องกับนโยบายสากลทั้งภูมิภาคและยูเนสโก โดยเน้นเรื่องนวัตกรรม ทั้งควรพิจารณาทบทวนมาตรฐานของครูและนักเรียน ในเรื่อง ๑.ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้เหมาะสมในทุกระดับการศึกษา ๒.ทักษะการใช้ ไอทีเป็นเครื่องมือเสริมเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ๓.เพิ่มขีดความสามารถตามแนวทางนวัตกรรมโดยเน้น Learning จากกิจกรรมใหม่ๆเพื่อให้ได้บุคลากรรุ่นใหม่ที่มีลักษณะ

์CAT   C  (Creativity )มีความคิดส้างสรรค์ 

A (adaptability ) พร้อมปรับเปลี่ยน T (Talent) มีความสามารถพิเศษตามที่ตนถนัด ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เกิดขึ้น ต้องใช้สูตร 

T  = Cx I *3

T ( Talent ) = Capabilityx (Internal correction  &

Improvement&Innovation) หรือคือสิ่งที่ต้องฝึก ๓ อย่าง คือ การแก้ปัญหา  การรู้จักพัฒนา และสร้างนวัตกรรมใหม่

นอกจากนี้ การประเมินก็ต้องเปลี่ยนการประเมินจาก QA เป็น QAI คือ นอกจากจะเน้นให้มีคุณภาพพื้นฐานแล้วต้องให้เกิดการพัฒนาและนวัตกรรมด้วย

 

 

 

“ศักยภาพของภาคการศึกษาในการตอบสนองกำลังคนของผู้ประกอบการ” โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ประพัฒน์ เชื้อไทย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก 


 

         ในช่วงบ่ายมีการแบ่งกลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ ผู้บริหาร (ผู้บริหารศึกษาธิการจังหวัด/เขตพื้นที่/สถานศึกษา) กลุ่มที่ ๒ ศึกษานิเทศก์/ครู และกลุ่มที่ ๓ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนจังหวัด/นักวิชาการ/สถานประกอบการ/สภาอุตสาหกรรมฯ/สภาหอการค้า/สกอ./สอศ. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนา (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติให้มีความสมบูรณ์


image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด