สกศ. ใช้วงเสวนา OEC Forum ชวนคิด การศึกษาขั้นพื้นฐานเด็กไทย เรียนแค่ไหนถึงจะพอ

image

วันนี้ (๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕) ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการ OEC Forum ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เรื่อง “การศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเรียนแค่ไหน” โดยมี ที่ปรึกษาด้านวิจัยและประเมินผลการศึกษา (นางศิริพร ศริพันธุ์) ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา (นางอำภา พรหมวาทย์) พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคเอกชน ครู นักเรียน อาทิ Mrs. Séverine Leonardi รองผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย Dr. Valerie Hannon Senior Adviser องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ณ ห้องประชุม Kontent Space ชั้น ๑๙ โรงแรมใบหยกสกาย กรุงเทพมหานคร ควบคู่กับการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook และ YouTube ภายใต้ชื่อ “สภาวะการศึกษาไทย สกศ.” และช่องทาง “OEC News สภาการศึกษา” ร่วมแชร์



 

ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะหน่วยงานหลักด้านการศึกษาภายใต้กระทรวงศึกษาธิการได้มุ่งผลิตพัฒนานโยบายและแผนการศึกษาของประเทศโดยการจัดประชุม OEC Forum ครั้งนี้ เป็นการเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งได้รับเกียรติจากภาคเอกชน ผู้แทน OECD นักวิจัย รวมถึงผู้แทนนิสิตนักศึกษา มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน พร้อมวางทิศทางดิสรัป (Disrupt) องค์กรอย่างไร ให้ทันต่อโลกยุค Digital Disruption โดย สกศ. จะนำข้อสรุปที่ได้ไปต่อยอดนโยบายพัฒนาการศึกษาไทย ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงานต่อไป

 


 

ภาพรวมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย โดย ดร.ชยพร กระต่ายทอง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า สถานการณ์โลกอันผันผวน Vuca World ในปัจจุบัน อาชีพกำลังเปลี่ยนไปมีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การศึกษาจึงต้องปรับตัวตาม เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่เหมาะสมกับโลกศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติค่านิยมให้เกิดสมรรถนะตามผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ทางการศึกษา เป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม และพลเมืองที่เข้มแข็ง สพฐ. จึงได้ร่วมมือกับองค์กรการศึกษา พัฒนาหลักสูตรแกนกลางเป็นพื้นฐานให้ผู้เรียน วางกรอบหลักสูตรระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับสถานศึกษา กระจายอำนาจสู่ระดับชั้นเรียนที่ปรับไปตามความต้องการเพิ่มเติมของแต่ละท้องถิ่น สนับสนุนกิจกรรมนอกหลักสูตรให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
 


 

 

“การศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเรียนแค่ไหน” แง่มุมแนวคิดจากการเสวนา โดย ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ อดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษา นางสาวโยโกะ เตรูย่า ผู้แทนบริษัท สตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น โซเชียล เอนเทอไพรส์ จำกัด นายทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และนายณชพล จึงสำราญ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เห็นตรงกันว่า ในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยใช้เวลาเรียนเยอะ แต่ได้ผลลัพธ์น้อย และเนื้อหายังไม่ทันสมัยไม่สามารถตอบโจทย์อนาคต หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงต้องเชื่อมโยงผู้เรียนกับวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ โรงเรียนต้องปรับตัวสร้างบรรยากาศการสอนในห้องเรียนผสมผสานไปกับเทคโนโลยีให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก สร้าง Innovative Learner โดยแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องตอบโจทย์ให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพความถนัดตนเอง และจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning หาสิ่งที่สนใจ และสร้างประโยชน์ต่อตนเองและสาธารณะ

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด