สกศ. เวิร์กชอปปรับกลยุทธ์ชี้ทิศการศึกษา Next Normal ยกร่างแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐

image

     วันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๖๕) เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อรรถพล สังขวาสี) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิง
ปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยมีรองเลขาธิการสภาการสภาการศึกษา (ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง) ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) ผู้อำนวยการสำนัก/กลุ่มและข้าราชการ สกศ. ร่วมระดมแนวคิด ภายใต้มาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น ๓ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพ ฯ


      ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. ระดมแนวคิดร่วมกันกำหนดทิศทางหรือแนวทางปฏิบัติตามพันธกิจและภารกิจ (Mission) ให้สัมฤทธิผลตามวิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าประสงค์ของหน่วยงาน (Corporate Goal) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน จุดหมายปลายทางที่ทั้งองค์การประสงค์จะไปให้ถึง และยังมีกระบวนการแปลงวิสัยทัศน์ให้เป็นวัตถุประสงค์ (Objective) ที่เป็นรูปธรรม และสามารถวัดค่าได้ และสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) โดยกำหนดเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ ทรัพยากร/งบประมาณที่ต้องใช้ กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ และผลที่คาดว่าจะได้รับ รวมไปถึงใช้ในการติดตามประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล


      "ภายใต้แนวคิดยกระดับเข็มทิศการศึกษา พัฒนาประเทศไทย สภาการศึกษาจำเป็นต้องยกระดับองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการระดมแนวคิดเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน ระยะ ๕ ปี เพื่อขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป" ดร.อรรถพล กล่าว

     สำหรับวาระการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ของ สกศ. (Strategic Planning) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้เกียรติทำหน้าที่วิทยากรที่ปรึกษา เพื่อให้ได้ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการระยะ ๕ ปี ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ และกำหนดแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย โดยคํานึงถึงความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดินควบคู่กับการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถดําเนินการได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดินในภาพรวม

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด