ปิดฉาก OEC Forum ปีงบฯ ๖๔ ด่านหน้าการศึกษาย้ำ Growth Mindset

image

#ยกเครื่องจัดการศึกษาดิจิทัล กล้าเปลี่ยน ยืดหยุ่น  
*ปรับใหญ่ครู-ผู้ปกครอง-เด็กต้องเรียนรู้อยู่ร่วมCovid         

     

     วันนี้ (๑๔ กันยายน ๒๕๖๔) เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ) ประธานเปิดการประชุมวิชาการสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๔ นัดสุดท้ายของปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ หัวข้อ "การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนในยุคโควิด-๑๙" โดยคณะผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักวิชาการ ผู้ปกครอง และสื่อมวลชนร่วมประชุมออนไลน์ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) สำนักสื่อสารองค์กร สกศ. ถ่ายทอดสดผ่านสื่อดิจิทัลต่อเนื่องตลอดทั้ง ๘ นัดผ่านแพลตฟอร์ม Facebook live, YouTube, Line, Blockdit : OEC News สภาการศึกษา ขยายผลเข้าถึงมหาชนร่วมปรับทัศนคติแนวคิดแบบเติบโต Growth Mindset ยืดหยุ่น กล้าท้าทายกับสิ่งใหม่ ปรับเปลี่ยนสู่การการเรียนรู้ในท่ามกลางพลวัตโลกดิจิทัล    
.
     ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ผลงานสำคัญของ สกศ. ตลอดปี ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔ ในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศคือการผลักดันร่าง พ.ร.บ.การศึคกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... และการขับเคลื่อนพัฒนาเด็กปฐมวัย ตลอดจนการขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาของชาติ การขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) ล้วนมีส่วนช่วยต่อยอดสร้างทิศทางการศึกษาชาติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ภายใต้การมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นการใช้นโยบายที่ทุกคนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เวที OEC Forum ทั้ง ๘ ครั้งถือเป็นพื้นที่กลางสำหรับทุกคนนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงพัฒนานโยบายการศึกษาสำคัญ แนวทางการจัดการศึกษา รวมถึงการประเมินผลที่บัญญัติในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องสถานการณ์โควิด-๑๙ ที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนออนไลน์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายการแสวงหารูปแบบการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่ตอบสนองตรงเป้าหมายและเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากที่สุด     
 
 .                  
     ก้าวสำคัญที่ต้องกล้าหาญของผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงครูผู้สอนต่อภารกิจเร่งยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการปรับกลยุทธ์การเรียนการสอนวิถีปกติใหม่ (New Normal) ทั้งโรงเรียนของรัฐ-เอกชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริงยุค Covid ผ่านแนวคิดด่านหน้าในสนามการศึกษาประเทศ นายวสันต์ ปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองกระบี่ ดร.นาฏฤดี จิตรรังสรรค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ ครูปริยา พิพิธภัณฑ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงเรียนสาธิตพัฒนา กรุงเทพ ฯ โดย ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์ นักวิชาการอิสระ ดำเนินรายการ สรุปสาระสำคัญดังนี้

.

     การปรับตัวครั้งสำคัญสำหรับการเรียนการสอนของประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนทั้งระบบเพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกับโรคโควิด-๑๙ ไปอีกยาวนาน การบริหารจัดการศึกษาในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้วิถีทำงานของครูเปลี่ยนไป การเรียนของนักเรียนเปลี่ยนไปต้องอยู่กับทั้งไวรัสโควิด-๑๙ รวมทั้งความไม่พร้อมในเรื่องต่าง ๆ ท่ามกลางความไม่พอดี สำหรับ โรงเรียนสุจิปุลิ ใช้แนวคิดใหม่ "หัวใจนักปราชญ์" ดึงประโยชน์ของการฟัง-คิด-ถาม-เขียน มาช่วยต่อยอดการปฏิรูปการศึกษาที่จะเปลี่ยนผ่านมาเป็นการสร้างสมรรถนะให้กับผู้เรียน (Competency based) สอดแทรกกระบวนการสร้างภาวะ "ผู้นำ" ในตัวเด็กสามารถช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้บรรลุเป้าหมายสำเร็จ 


.

     ขณะที่ โรงเรียนสาธิตพัฒนา ปรับรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ที่มีเป้าหมายลดภาระผู้ปกครอง-ลดความเครียดของนักเรียนทุกระดับตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มุ่งเน้นแผนการเรียนรู้รายบุคคลตามแนวทาง Individual Development Plan School (IDP School) โดยทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง ร่วมกันวางแผนและค้นหาเป้าหมายในการเรียนอย่างมีเป้าหมาย โรงเรียนเมืองกระบี่ ใช้ระบบออนไลน์สร้างให้เกิด "โรงเรียนเสมือนจริง" ที่ทุกคนเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันได้ตลอดเวลาผ่านระบบ Line และ Facebook โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียสละอุปกรณ์สื่อสารมาสนับสนุนการเรียนการสอนช่วยลดค่าใช้จ่ายในระดับหนึ่ง ก่อนหน้านี้มีการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารเสนทศมาปรับใช้กับการเรียนการสอนอยู่แล้วจึงกลายเป็นความพอดีโดยบังเอิญที่ส่งเสริมการเรียนการสอนได้ดีจากพื้นฐานความร่วมมือระหว่างกัน
.
    ความท้าทายการจัดการศึกษาของทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชนที่มีความสอดคล้องกันคือ ทำอย่างไรจึงสามารถตอบโจทย์การเรียนการสอนไปด้วยกันโดยโฟกัสที่การเรียนรู้เป็นหลัก สร้างแรงบันดาลใจความคิดสร้างสรรค์โดยปลูกฝังตั้งแต่เด็กจะทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่า เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ ตามความเก่งและความสามารถที่แตกต่างกันไปพร้อมจะเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและของโลก    

     ลักษณะการประเมินนั้นมุ่งเน้นที่ศักยภาพของผู้เรียน และนำผลการประเมินมาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และคุณธรรมจริยธรรม มาใช้ออกแบบเป็นหลักสูตรที่สอดรับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน มุ่งเน้น Positive Education เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ใช่การยัดเยียด เด็กต้องเรียนสนุกได้ประโยชน์คือการเรียนที่เด็กรู้สึกว่าเข้าใจและมีความก้าวหน้าในการเรียนและเห็นพัฒนาการของตัวเองแบบถาวร เป็นสัญญาณที่ดีเชิงบวกคือ positive ทั้งสมองและจิตใจ

     ดังนั้น ข้อสรุปที่ตรงกันจำเป็นต้องปรับระบบการเรียนการสอนอย่างสอดคล้องบริบทสภาพจริง โดยลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้ ซึ่งสร้างกระแสตอบรับที่ดีจากทุกฝ่ายผ่านนโบายการจัดการศึกษาที่บูรณาการทุกฝ่ายมีส่วนร่วมรับฟังเหตุผลระหว่างกัน เพื่อร่วมกันบรรลุเป้าหมายความสำเร็จในการเรียนการสอนร่วมกันที่มีประสิทธิภาพและทำได้จริงเกิดรูปธรรมชัดเจนในสถานการณ์โควิด-๑๙ ที่ยังต้องเรียนรู้ร่วมกันอีกยาวนาน
 

 ภาพและข้อมูลเพิ่มเติม enlightened https://www.facebook.com/media/set?vanity=627180797293850&set=a.6459142580764280

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด