ครูกัลยา ย้ำการศึกษาไทยต้องไปต่อ! มุ่งดันแรงกิ้ง IMD มอบ สกศ. เจ้าภาพกระตุ้นศรัทธาภาครัฐ-เอกชนร่วมไขปมลดเหลื่อมล้ำ-บิ๊กดาต้า-อัดงบฯ ให้ตรงจุดแก้โจทย์รายตัวชี้วัดพัฒนาคุณภาพบัณฑิตก้าวผ่าน Post Covid

image

     วันนี้ (๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ทำหน้าที่ประธานการประชุมสภาการศึกษา (กกส.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ ผ่านระบบประชุมวีดิทัศน์ทางไกล (VDO Conference) โดยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ) พร้อมคณะผู้บริหาร สกศ. ผู้แทนองค์กรในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ กกส.ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมประชุม ณ ห้องที่ห้องภุชงค์ เพ่งศรี ชั้น ๒ อาคาร ๑ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ผ่านระบบออนไลน์ภายใต้มาตรการเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) 


     ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกส. ได้พิจารณาวาระสำคัญเรื่องความก้าวหน้าและแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะทางการศึกษาของประเทศไทยในระดับนานาชาติ ผ่านตัวชี้วัดของสถาบันเพื่อพัฒนาการจัดการนานาชาติ (IMD) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงรายงานล่าสุดในภาพรวมประเทศไทยมีอันดับดีขึ้น ๑ อันดับ เป็นอันดับที่ ๒๘ จาก ๖๔ ประเทศ (ปี ๒๕๖๓ อันดับที่ ๒๙) ทั้งนี้ อันดับด้านการศึกษาอยู่อันดับที่ ๕๖ ซึ่งลดลง ๑ อันดับ (ปี ๒๕๖๓ อันดับที่ ๕๕) ทาง กกส..ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านแสดงทัศนะแตกต่างมุมมองว่า เกิดจากปัจจัยด้านการศึกษาที่มีการพัฒนาดีขึ้น เช่น ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (TOEFL) การศึกษาในมหาวิทยาลัยตอบโจทย์การแข่งขัน ดัชนีอันดับมหาวิทยาลัย อัตราการไม่รู้หนังสือของประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป รวมถึงทักษะทางภาษาตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ เป็นต้น 
.
     ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวต่อว่า ข้อสังเกตประการหนึ่ง ปัจจัยด้านการศึกษาเป็นปัจจัยย่อยอยู่ในปัจจัยหลักโครงสร้างพื้นฐานและมีตัวชี้วัด ๑๙ ตัวชี้วัดในแต่ละปัจจัยย่อยมีจำนวนตัวชี้วัดในแต่ละปีที่ไม่เท่ากัน โดยในปี ๒๕๖๔ มีตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น ๓๓๕ ตัวชี้วัด โดยผลการวิเคราะห์ของ สกศ. ตัวชี้วัดด้านการศึกษาจำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูลมาจากทั้งข้อมูลสถิติ/ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลการสำรวจและข้อมูลพื้นฐานซึ่งในส่วนนี้ IMD ไม่ได้นำมาจัดอันดับ ข้อค้นพบจุดแข็งใน ๒ ประเด็นที่มีการพัฒนามากที่สุด คือ ๑.ดัชนีมหาวิทยาลัย ในปี ๒๕๖๔ ไทย เป็นอันดับที่ ๔๘ ดีขึ้น ๑ อันดับ (ปี ๒๕๖๓ อันดับที่ ๔๙) ถึงแม้ว่าไทยมีผลการจัดอันดับดัชนีมหาวิทยาลัยมีอันดับและคะแนนที่ดีขึ้นในการประเมินของ IMD ปี ๒๕๖๔ จนถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของตัวชี้วัดด้านการศึกษา 
.
     อย่างไรก็ดี การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ Times Higher Education หรือ THE พิจารณาจากระบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยระหว่างประเทศ การผลิตผลงานวิจัย และการสร้างนวัตกรรมที่ได้รับการจดสิทธิบัตร รวมทั้งทักษะของผู้จบการศึกษาที่สามารถตอบสนองต่อภาคธุรกิจโดยพิจารณาจากรายได้จากภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น ไทย ควรพัฒนาระบบการสอน ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยและทักษะของผู้จบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อีกเรื่อง ๒.อัตราส่วนนักเรียนต่อครู ๑ คน ที่สอนระดับประถมศึกษา ปี ๒๕๖๔ มาเป็นอันดับที่ ๓๐ ดีขึ้นถึง ๖ อันดับ (ปี ๒๕๖๓ อันดับที่ ๓๖) ค่าเฉลี่ยของประเทศที่เข้าร่วมระดับประถมศึกษาอยู่ที่ ครู ๑ คนต่อนักเรียน ๑๖.๓๐ คน ไทย มีอัตราส่วนครู ๑ คน ที่สอนระดับประถมศึกษาสูงกว่าค่าเฉลี่ย 

     ขณะที่ สกศ. พบข้อสังเกต ๓ ตัวชี้วัดซึ่งมีอันดับที่ไม่ดีนัก ๑.อัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นอันดับ ๖๑ ในปี ๒๕๖๔ ลดลง ๔ อันดับ (ปี ๒๕๖๓ อันดับที่ ๕๗) ถือได้ว่าเป็นตัวชี้วัดด้านการศึกษาที่เป็นจุดอ่อนของไทย อัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยลดลง และมีผลการจัดอันดับเกือบสุดท้ายของประเทศที่เข้าร่วมการจัดอันดับ และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ๒.อัตราส่วนนักเรียนต่อครู ๑ คนที่สอนระดับมัธยมศึกษา เป็นอันดับ ๖๐ ในปี ๒๕๖๔ ลดลง ๓ อันดับ (ปี ๒๕๖๓ อันดับที่ ๕๗) เนื่องจากมีโรงเรียนขนาดเล็กอยู่มากกว่า ๑.๕ หมื่นแห่ง หรือประมาณร้อยละ ๕๐ จากโรงเรียนทั้งหมดทำให้ในภาพรวมดูไม่ขาดแคลน แต่ในความเป็นจริงครูมีความกระจุกตัว ยังขาดแคลนครูไม่ครบชั้น ไม่ครบตามกลุ่มสาระ และ ๓.งบประมาณด้านการศึกษาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เป็นอันดับ ๕๙ ในปี ๒๕๖๔ ลดลง ๑ อันดับ (ปี ๒๕๖๓ อันดับที่ ๕๘) พบว่า ประเทศไทยมีงบประมาณด้านการศึกษาต่อ GDP เท่าเดิม แต่งบประมาณด้านการศึกษาที่ไม่สัมพันธ์กับคุณภาพการศึกษา  
.
     อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาเห็นได้ว่าประเทศไทยมีสมรรถนะด้านการศึกษาลดลง จากอันดับที่ ๕๑ ในปี ๒๕๕๔ ลดลงเป็นอันดับที่ ๕๖ ในปี ๒๕๖๔ ลดลงถึง ๕ อันดับ โดย ไทย ยังคงรักษาอันดับอยู่ที่ ๓ ของภูมิภาคอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ และ มาเลเซีย แม้ว่าในปี ๒๕๖๔ ไทย ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคโควิด-๑๙ อย่างต่อเนื่อง แต่จากผลการจัดอันดับครั้งนี้พบว่า ไทย มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) จากภาพลักษณ์ความโปร่งใสในการดำเนินงาน และการเร่งรัดการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ๒)ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) จากความพยายามของภาครัฐและภาคธุรกิจที่สนับสนุนการจ้างงานและการพัฒนาบุคลากร และ ๓) ด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสาธารณูปโภค เทคโนโลยี และการศึกษา (Infrastructure) เนื่องจากรัฐบาลมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง
.
     ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการพัฒนากลุ่มตัวชี้วัด IMD ที่ได้จากข้อมูลการสำรวจผ่านการแสดงความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยมอบหมาย สกศ. เป็นหน่วยงานหลักของ ศธ. เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับภาคเอกชนและสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายการสำรวจความคิดเห็นของ IMD เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศไทย และตระหนักถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ประสานทุกส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาระบบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย พร้อมใช้และสะท้อนสถานการณ์การพัฒนาที่เกิดขึ้นจริง สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ภาคธุรกิจและประชาชนผ่านช่องทางที่เข้าถึงง่ายเพื่อสร้างความเข้าใจประเด็นร่วมกัน รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อติดตามและผลักดันแผนงาน โครงการ ที่จะช่วยยกอันดับตัวชี้วัดและรายงานผลการดำเนินงานเพื่อทราบตามขั้นตอนต่อไป


          สำหรับความก้าวหน้าและผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๖๔ ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ที่ประชุมอภิปรายถึงสภาวการณ์การจัดการศึกษาตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ ที่กำหนดประเด็นปฏิรูปมุ่งเน้นตอบโจทย์ Big rock ด้านการศึกษา หรือกิจกรรมปฏิรูปที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทั้ง ๕ เรื่อง ๑) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ๒) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ๓) การสร้างระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ๔) การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบนำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน และ ๕) การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืนโดยให้ความเห็นชอบขอบเขตเนื้อหาของรายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๖๔ ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นสำคัญที่มีสถานการณ์สำคัญประกอบ เช่น ภาวะความเหลื่อมล้าทางการศึกษาที่มีความหลากหลายมิติ การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การปรับตัวของครูผู้สอนที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบการศึกษา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่มเป้าหมายที่มีเนื้อความครอบคลุม ๔ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาพรวมสภาวะการศึกษาไทยในรอบปี และวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนใสถานการณ์โควิด-๑๙ ในมิติต่าง ๆ ผนวกด้วย ชี้ให้เห็นจุดเน้นสภาวะการศึกษาไทย สภาวการณ์การจัดการศึกษาตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาที่ตอบโจทย์ Big rock ด้านการศึกษา และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่ช่วยปลดล็อกกฎ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อสรุปรายงานต่อที่ประชุม ครม. พิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในระยะยาวได้อย่างแท้จริง และจัดทำรายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้

     "ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความเคลื่อนไหวการดำเนินงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ NQF ของ สกศ. ภายใต้ความร่วมมือทำงานแบบพันธมิตรหลักในการขับเคลื่อนงาน NQF อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการพัฒนาระบบขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติอย่างครอบคลุมทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเกณฑ์การขึ้นทะเบียนหลักสูตร พัฒนาระบบขึ้นทะเบียนหลักสูตร และดำเนินการขึ้นทะเบียนหลักสูตรตามกรอบ NQF รวมถึงรายงานผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้เสนอ
แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐ ต่อ ครม. โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติจัดพิมพ์รายงานการติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อเผยแพร่สาธารณชนอย่างกว้างขวางต่อไป" ดร.อำนาจ กล่าว

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด