สกศ. ผลักดันต่อเนื่อง วางแนวการประกันคุณภาพหลักสูตรตาม NQF

image

วันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๖๕) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ โดยมี ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม เป็นประธานอนุกรรมการ ฯ พร้อมด้วย ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์  นายวณิชย์ อ่วมศรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และคณะทำงาน ร่วมประชุม ณ ห้องกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สกศ. และในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19)

 

 

ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework: NQF)ใน ๙ หลักสูตรของ ๙ วิทยาลัยนำร่อง สู่การขึ้นทะเบียนหลักสูตรที่สอดคล้องกับ NQF และพิจารณาต่อเนื่องถึงการประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตาม NQF เพื่อรองรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ และสามารถเทียบระดับสมรรถนะของผู้เรียนกับระดับของ NQF ได้

 

 

แนวทางการประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตาม NQF ประกอบด้วยเกณฑ์ จำนวน ๕ เกณฑ์ ได้แก่ ๑) ด้านหลักสูตร ๒) กระบวนการจัดการเรียนรู้และการฝึกอบรม ๓) ด้านผู้สอน/ผู้ฝึกอบรม ๔) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และ ๕) ด้านการวัดและประเมินผลและการประกันคุณภาพ โดยสถานศึกษา/สถานฝึกอบรม จะต้องมีหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพสอดคล้องกับความต้องการกำลังคน สามารถจัดการจัดการเรียนรู้/ฝึกอบรมเป็นให้ไปตามหลักสูตรยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ รวมถึงมีการวิเคราะห์สมรรถนะและพัฒนาผู้สอนให้สามารถการยกระดับการจัดการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์อาชีพได้อย่างมีคุณภาพ โดยสถานศึกษาต้องจัดโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น มีระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำกับดูแลการประเมินผลและการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

 

ที่ประชุมมีความเห็นว่าหน่วยงานที่ขอขึ้นทะเบียนหลักสูตรต้องผ่านเกณฑ์ตามแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องจึงจะได้รับการขึ้นทะเบียนหลักสูตร และเข้าสู่ขั้นตอนการประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ได้ต่อไป ทั้งนี้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร ทุก ๒ ปี เพื่อความเป็นมาตรฐานและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

 

ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม ประธานอนุกรรมการ ฯ กล่าวว่า สกศ. เป็นศูนย์กลางระบบการศึกษา ในการขับเคลื่อนนโยบายยกระดับการศึกษาและส่งเสริมการมีงานทำ จะต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคนในทีมประเทศไทย ให้สามารถเทียบโอนผลลัพธ์การเรียนรู้และประสบการณ์ เชื่อมโยงสู่การมีทักษะการทำงานตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานต่อไป

 

 

ภาพและข่าวเพิ่มเติม: Facebook "ข่าวสภาการศึกษา"

https://www.facebook.com/media/set?vanity=OECCHANNEL&set=a.7677523595592833

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด