สกศ. ประชุมสัมมนาสภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๙/๒๕๖๐ ประเด็น “แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐”

image

 

          วันนี้ (๒๑ กันยายน ๒๕๖๐) รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง “สภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๙/๒๕๖๐” โดยมี ดร.รุ่ง แก้วแดง ประธานมูลนิธิสุขแก้ว-แก้วแดง ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน ที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ประธานบริษัทบอยเดน แอสโซซิเอทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประมาณ ๑๐๐ คน ณ ห้องภาณุมาศ ชั้น ๑๐ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ

 
 
 



          ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทยเป็นประจำทุกปี ในปีนี้สำนักงานฯ ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิสุขแก้ว-แก้วแดง จัดทำรายงานในประเด็น “แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐” เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษายุคใหม่ก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ปัจจุบันสำนักงานฯ มีหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ได้แก่ ๑) คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ๒) คณะกรรมการสภาการศึกษา ๓) คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และ ๔) คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ขณะนี้ได้วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลจากรายงานสภาวะการการศึกษาไทย และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙ เพื่อนำเสนอปัญหาการศึกษาไทยต่อคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) 

 

 



          นางเกื้อกูล ชั่งใจ กล่าวว่า การประชุมสัมมนาครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งต้องการรับฟังข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนาการศึกษา เพื่อนำไปปรับปรุงรายงานให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

 

 
 
 



          ดร.รุ่ง แก้วแดง รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสภาวะการศึกษาไทย โดยดำเนินการผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชิงระบบ (Systems analysis) พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ หน่วยงานทางด้านนโยบายมุ่งเน้นการปฏิรูปการศึกษาของประเทศจากปัจจัยนำเข้า (input) มากกว่าผลลัพธ์ทางการศึกษา (output) เช่น การออกนโยบายจากหน่วยงานส่วนกลางสู่หน่วยงานปฏิบัติ ในขณะที่สิ่งสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาอย่างประสิทธิภาพ คือ ต้องมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และผลิตเด็กที่มีคุณภาพ

          การศึกษาสภาวะการศึกษาของประเทศไทยมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ๑) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ๑๒ ล้านคน ในอีก ๒ ปีข้างหน้า การเรียนรู้ทุกช่วงวัยเป็นสิ่งที่ต้องคำนึง โดยเฉพาะการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เช่น การดูแลตนเอง ๒) ด้านโอกาสทางการศึกษา ประชากรควรได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษ รวมทั้งโรงเรียนในพื้นที่ที่มีโอกาสทางการศึกษาน้อย ๓) ด้านความเท่าเทียม มีความแตกต่างระหว่างในเมืองและชนบท โรงเรียนขนาดเล็กในชนบทไม่มีคุณภาพ ทำให้ผู้ปกครองต้องย้ายลูกมาเรียนที่โรงเรียนที่มีคุณภาพมากกว่า ทำให้เกิดการโอนย้ายจำนวนนักเรียนที่ไม่เท่าเทียมกัน และ ๔) ด้านคุณภาพการศึกษาไทย จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด มุ่งเน้นการสอนให้นักเรียนคิดและวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ 


 



          จากนั้นมีการอภิปรายนำ โดย ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน ที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ประธานบริษัทบอยเดน แอสโซซิเอทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการอภิปรายโดย นายกวิน เสือสกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา 


 
 
 
 

          ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน ได้ให้ข้อเสนอแนะรายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๙/๒๕๖๐ ไว้ว่า เนื้อหารายงานควรให้ครอบคลุมทุกระบบการศึกษา และการนำผลการวิจัยในแต่ละประเด็นให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยการกำหนดข้อเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละส่วนให้ชัดเจน เช่น การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ ควรแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจนระหว่างกระทรวงศึกษาธิการหรือกระทรวงพัฒนาสังคม เป็นต้น  รวมทั้งการนำผลการวิจัย เสนอประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ได้อย่างแท้จริง


 
 
 
 
 

          ในด้านของนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาทางการศึกษาของประเทศไทยต้องมาจากการลงทุนในการวิจัย นำข้อมูลมาศึกษา ทบทวน วิเคราะห์และสังเคราะห์ ประชาพิจารณ์ ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนให้ได้มากที่สุด และใช้การวิจัยทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น และทดสอบเพื่อหาคำตอบอย่างเป็นระบบ ในการตอบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ควรต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการจากการเป็นหน่วยงานควบคุม เป็นการสนับสนุนหรือกำกับ รวมทั้งการมุ่งเน้นการสร้างหรือผลิตคนดีจากระบบการศึกษา นอกเหนือจากการเรียนเก่งจบการศึกษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับการผลักดันจากผู้ปกครองที่จะทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดีตั้งแต่หน่วยครอบครัว ซึ่งมีความสำคัญยิ่งที่จะสามารถทำให้เกิดการพัฒนาของสังคมและประเทศได้ 


 

 ท่านสามารถดูภาพบรรยากาศได้ที่ 


image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด