พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประชุมบอร์ดคุณวุฒิแห่งชาติ นัดที่ ๓ ณ ทำเนียบรัฐบาล

image

 

          วันนี้ (๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐) รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ โดยมี รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา (นางเรืองรัตน์ วงศ์ปราโมทย์) พร้อมคณะทำงาน สกศ. ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๓๐๑ ตึกบัญชาการ ๑ ทำเนียบรัฐบาล

 


          ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework: NQF) ฉบับป
รับปรุง และร่วมกันหารือร่างแผนขับเคลื่อน NQF สู่การปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ โดยย้ำจุดเน้นสำคัญ ๗ ประเด็น ๑) การพัฒนานโยบายและแผนการดำเนินงาน เพื่อผลักดันให้มีการเชื่อมโยงระหว่างคุณวุฒิการศึกษากับมาตรฐานอาชีพหรือคุณวุฒิวิชาชีพ ๒) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และให้การรับรองระบบคุณวุฒิของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับ NQF ๓) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพ และติดตามการประเมินผล NQF ๔) พัฒนาระบบการเทียบโอน และระบบการเทียงเคียง NQF ๕) พัฒนาฐานข้อมูล ที่เชื่อมโยงและเข้าถึงระบบคุณวุฒิที่สอดคล้องกับ NQF ๖) สร้างการรับรู้ และความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วน พร้อมเร่งผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงองค์กรวิชาชีพร่วมขับเคลื่อน NQF สู่การปฏิบัติ และ ๗) ปฏิบัติภารกิจที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตาม ประเมินผล และพัฒนาระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

 
 
 
 
 


          สำหรับโครงการเทียบเคียง 
NQF กับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (ASEAN Qualification Reference Framework : AQRF) ซึ่งมีชาตินำร่องร่วมโครงการแล้ว ๔ ประเทศ ประกอบด้วย ไทย ฟิลิปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างจัดทำหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพื่อเสนอ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พิจารณาลงนาม ก่อนนำเข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  
 

          ด้าน พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ยกประเด็นสำคัญ  ที่ช่วยขับเคลื่อน NQF ให้มีความชัดเจนมากขึ้น พร้อมนำนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ ๕ ปีแรกสู่การรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดความเข้าใจอย่างชัดเจนเรื่องมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพให้ตรงกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยผ่านการดำเนินงานขององค์กรกลาง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างคุณวุฒิการศึกษากับมาตรฐานอาชีพ หรือคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อขับเคลื่อน NQF สู่การปฏิบัติอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพต่อไป 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด