คกก.อิสระเปิดรับฟังความคิดเห็น จัดตั้งกองทุนลดความเหลื่อมล้ำ

image



        วันนี้ (๒๕ ก.ค.๖๐) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ครั้งที่ ๙/๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 

 
 
 
 
 

 

        ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษากล่าวว่า คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาได้มอบหมายให้อนุกรรมการกองทุน ดำเนินการจัดทำข้อเสนอและร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นกลไกในการปฏิรูปเพื่อการแก้ปัญหา เพื่อสำหรับดูแลคนยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และจัดการแก้ปัญหาครู  ซึ่งปัญหาทั่วโลกคือปัญหาความยากจน คนจนไม่สามารถหลุดจากพ้นจากความยากจนได้ สิ่งที่ช่วยจะให้หลุดพ้นได้คือการศึกษา ถ้าเด็กได้รับการศึกษาที่ดี จะสามารถหลุดพ้นจากความยากจน และสามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้ กองทุนนี้ไม่ใช่ดูแลเฉพาะเด็กในระบบเท่านั้น  แต่ต้องดูแลเด็กนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยด้วย นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับเด็กเล็ก เพราะมีงานวิจัยรองรับหลายชิ้นว่าการลงทุนกับเด็กเล็กจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าเงินที่ลงทุน ขณะนี้ คณะกรรมการฯ ได้เปิดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งทุกท่านสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ผ่านทาง Facebook : ร่วมปฏิรูปการศึกษาไทย

 
 
 
 
 
 

 

        ด้าน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานอนุกรรมการกองทุน กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้กองทุนนี้เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๕๔ วรรคหก ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน หรือใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษี ... เพื่อเสริมสร้างให้มีความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้น ปัญหาใหญ่คือยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่าไรจะยิ่งมีความเหลื่อมล้ำ ปัจจัยสำคัญคือการศึกษา ประชาชนทุกคนจะต้องมีโอกาสเข้าถึงทางการศึกษา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระยะยาวที่ยั่งยืน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาภายใน ๑๐ ปีข้างหน้า ๑. ขจัดปัญหาเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา ๒.เด็กเล็กในครอบครัวยากจนได้รับการดูแล กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ ๓. ขจัดปัญหาเด็กเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษา ๔. ลดความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา/อาชีวศึกษา ๕. ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ห่างไกลและครูผู้สอนนักเรียนยากจนด้อยโอกาส ๖. ประดับโอกาสทางการศึกษา คุณภาพการเรียนรู้ และคุณภาพชีวิต ซึ่งกองทุนฯ นี้ไม่ใช่แค่ค่าเล่าเรียนเท่านั้น แต่รวมถึงค่ายังชีพ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อการศึกษาทั้งหมด โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทสนับสนุนการศึกษาของเด็กในท้องถิ่น.

 
 
 
 
 
 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด