สกศ. ลงพื้นที่ติดตามงานร่วมกับ รมว.ศธ.

image

 

 

      (วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐) ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาการศึกษา ลงพื้นที่ติดตามงานการเชื่อมโยงของรัฐบาลกับการศึกษา ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารองค์กรหลัก ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปากช่อง สำนักงานศึกษาธิการภาค ๑๔ และโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา


 
 

         เวลา ๑๐.๐๐ น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการ "ศูนย์ดิจิทัลชุมชน" ของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครราชสีมา ที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปากช่อง

         นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งต้องการมาดูให้เห็นว่ามีการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่มากน้อยเพียงใด เข้าถึงชาวบ้านหรือไม่ และทำให้เกิดอะไรขึ้นในชุมชน

 

         ซึ่งต้องขอชื่นชมสำนักงาน กศนที่สามารถดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจ สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ความรู้ และจัดการอบรมแก่ประชาชนจำนวน ๙๖ หลักสูตร ผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชนในจังหวัดนครราชสีมาทั้ง ๒๘๙ แห่ง ซึ่งล้วนเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ และต่อยอดอาชีพของคนในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การสร้างแฟนเพจ การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์อาชีพด้วยสมาร์ทโฟน การถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟนเพื่อธุรกิจ การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เป็นต้น


 

         ทั้งนี้ ได้มอบแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ทุกโครงการเกิดประโยชน์กับชาวบ้านมากที่สุด ดังนี้


 

คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเสมอ แม้ว่าคนไทยจะเก่งและมีความสามารถในการผลิตคิดค้นนวัตกรรมงานวิจัยต่าง ๆ แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่เราคิด สิ่งที่รัฐทำ ชาวบ้านต้องได้ประโยชน์ด้วย ไม่ใช่ทำแล้วเก็บไว้บนหิ้ง ก็เท่ากับไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงย้ำเสมอว่า ทำอะไรก็ให้คิดถึงชาวบ้านชุมชนตลอดเวลา


 

การไปสู่ Thailand .๐ เป็นเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อให้เราเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งขณะนี้ถือว่าเราอยู่ในยุค ๓.๐ แล้ว แต่การจะไปสู่ ๔.๐ คือเป็นเรื่องของหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ไปจนถึง Internet of Things (IoT) ที่สามารถควบคุมเครื่องมือและแรงงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถเชื่อมโยงตัวเราด้วยอินเทอร์เน็ต เช่น เปิดไฟจากนอกบ้านโดยส่งสัญญาณผ่าน WIFI หุ่นยนต์สมองกลคุมการทำงานในโรงงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าประเทศเรายังมีทั้ง ๑.๐ ๒.๐ และ ๓.๐ เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกที่ไม่สามารถไปถึงยุค ๔.๐ ได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงเชื่อว่าการดำเนินงานก็ต้องเป็นไปตามความเป็นจริง การที่เราจะก้าวกระโดดไปสู่ ๔.๐ ทั้งที่พื้นฐานยังไม่ดี จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก


 
 
 
 

ทุกภาคส่วนต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน ขณะนี้สำนักงาน กศน. อบรมให้ความรู้การใช้เทคโนโลยีแก่ประชาชน ทำให้สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้คอมพิวเตอร์ และแอพพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อการค้าขาย หากจะให้มีความท้าทายเพิ่มขึ้น ต้องมุ่งเน้นหลักการตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยข้าราชการ ประชาชน ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน เพราะรัฐต้องพึ่งชาวบ้านเพราะชาวบ้านค้าขายเก่งกว่า ส่วนชาวบ้านก็ต้องพึ่งการอบรมพื้นฐานทางเทคโนโลยีผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน ถือเป็นโครงการที่มีประโยชน์กับทุกฝ่าย


 
 
 
 
 
 
 

ความต้องการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ  ให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชนเป็นหลัก ใครมีจุดเด่นและมีของดีอะไร ก็พัฒนาไปตามนั้น รัฐมีหน้าที่ให้ความรู้เรื่องการตลาด กฎหมาย ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนความต้องการพื้นฐานต่าง ๆ แต่จะไม่สั่งให้ทำตามอย่างในอดีตอีกแล้ว

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

มอบให้สำนักงาน กศน. จัดระบบเชื่อมโยงระบบดิจิทัลชุมชนกับหน่วยงานที่ให้การศึกษาในพื้นที่ตลอดจนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ได้ แม้จะอยู่นอกเวลาราชการด้วย พร้อมทั้งพัฒนาศูนย์ดิจิทัลชุมชนทุกแห่งทั้งจังหวัด ให้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน 
พบปะและมอบนโยบาย กศจ.นครราชสีมา ที่โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เวลา ๑๓.๓๐ น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เดินทางต่อไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา (ศธจ.นครราชสีมา) เพื่อมอบนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค แก่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) คณะอนุกรรมการ ตลอดจนบุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ณ ห้องประชุมอาเวมารีอา อาคารสิรินธร โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา อ.เมืองนครราชสีมานพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นแตกต่างจากจังหวัดใหญ่ ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการศึกษาที่เป็นศูนย์รวมทุกระดับ ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา ตลอดจนการศึกษาเอกชน ซึ่งมีผลการจัดการศึกษาอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศ
ขอฝากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ให้ช่วยยกระดับการศึกษาของจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี ใน ๖ ด้าน คือ ๑) ความมั่นคง ๒) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๓) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ๔) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ๕) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๖) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยเน้นเป้าหมายสำคัญ ๓ ส่วน คือ การสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และมีคุณภาพ โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่เป็นหลัก เพราะยุคนี้จะไม่สั่งหรือมีนโยบายลงมาจากส่วนกลาง แต่จะเน้นการทำงานแบบ Bottom Up ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ต้องรับฟังประชาชน ชาวบ้าน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานในพื้นที่เป็นหลัก พร้อมกับให้ความสำคัญกับการประชุมเพื่อพัฒนางานตามแผนการศึกษาของจังหวัดมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ด้วย ในส่วนของตัวชี้วัด นายกรัฐมนตรีได้มีดำริให้กำหนดชี้วัดที่มีความชัดเจน และครบคลุมทั้งด้านผลผลิต ด้านผลลัพธ์ และด้านผลกระทบในสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ขอขอบคุณโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ซึ่งอนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่เป็นสำนักงานชั่วคราวของ ศธจ.นครราชสีมา ทั้งยังจัดการศึกษาและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนอย่างดีมีคุณภาพ ถือเป็นโรงเรียนตัวอย่างที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้บริหารโรงเรียนอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการบริหารจัดการระดับดีเลิศอีกแห่งหนึ่ง รวมทั้งโรงเรียนปลูกปัญญา ที่ได้ไปตรวจเยี่ยม ซึ่งมีจุดเด่นด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : Robot .


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ท่านสามารถดูภาพบรรยากาศได้ที่


image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด