เลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมหารือกรอบการประเมินความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาสู่ระดับอนุบาลศึกษา

image

 
 
 

 

วันนี้ (๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐) เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.กมล รอดคล้าย) ประธานการประชุมหารือกรอบการประเมินความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาสู่ระดับอนุบาลศึกษา โดยมีผู้แทน ๕ องค์กรหลัก กระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ ณ ห้องประชุมส่วนกลาง ชั้น ๕ อาคาร ๒ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) 

 
 
 

 

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. พร้อมเป็นสะพานเชื่อมโยงบูรณาการขับเคลื่อนความพร้อมของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยฯ โดยยึดยุทธศาสตร์แนวทางคณะกรรมการพัฒนา    เด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.) เป็นแกนกลางเพื่อสร้างเอกภาพในการขับเคลื่อนพัฒนาเด็กเล็กอย่างเป็นเอกภาพทั้งระบบ นอกจากนี้ คาดการณ์การเตรียมความพร้อมดังกล่าวมีแนวโน้มได้รับการตอบรับอย่างดีจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยจัดการศึกษาอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น 

 
 
 
 

 

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามมาตรา มาตรา ๕๔ บัญญัติแนวทางขับเคลื่อนพัฒนาปฐมวัยชัดเจนว่า รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา ๑๒ ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายรัฐต้องดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย รวมทั้งขับเคลื่อนตามมาตรา ๔๔ แห่งรัฐธรรมนูญฯ โดยใช้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๘/๒๕๕๙ เรื่องให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 


 
 
 
 

     

ดร.กมล รอดคล้าย กล่าวว่า แนวทางขับเคลื่อนดังกล่าวยังได้รับแรงสนับสนุนจากคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่มี ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา เป็นประธาน ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรวมทั้งสิ้น ๖ ชุด เพื่อขับเคลื่อนงานสู่การปฏิบัติ โดย ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นประธานอนุฯ เด็กเล็ก และ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นประธานอนุฯ กองทุน ดำเนินงานตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๒๕๘ จ. เพื่อปฏิรูปการศึกษา มีการจัดตั้ง ๓ กองทุนหลัก ๑.กองทุนสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็กสามารถส่งเด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา  ให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ๒.กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งกระทบกับเด็กเล็กโดยตรงเพื่อพัฒนาและขยายโอกาสสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างทั่วถึง และ ๓.กองทุนเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูที่จะมาสอนเด็กเล็ก 

 
 
 

 

ทั้งนี้ นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมาย สกศ. ทำหน้าที่ประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กเล็กตามยุทธศาสตร์ ก.พ.ป. โดยเน้นเป้าหมายหลักปฏิบัติได้จริง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สามารถต่อยอดขยายสถานศึกษารองรับเด็กเล็กได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ และสร้างกลไกหรือเครื่องมือขับเคลื่อนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 

 
 

 

สำหรับกรอบแนวทางหารือดังกล่าว สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สกศ. ดำเนินการยกร่างมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ สำหรับรองรับเด็กแรกเกิดจนถึงก่อนเข้าประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยมีมาตรฐานหลัก ๓ ด้าน คือ ๑.การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ๒.การดูแลและกระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และ ๓.คุณภาพของเด็ก   ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ช่วง ๑) เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ ๒ ปี และเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี หรือช่วงก่อนเข้าประถมศึกษาปีที่ ๑ และได้กำหนดตัวบ่งชี้ไว้แล้วทุกด้าน ทั้งนี้ คณะทำงานฯ สกศ. จะได้หารือร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ   ด้านเด็กเล็ก และผู้แทนหน่วยงานจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางขับเคลื่อนตามลำดับต่อไป.      

        

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด