สกศ. จัดประชุมคณะอนุกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐

image

 


          วันนี้ (๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐)  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดประชุมคณะอนุกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ครั้งที่ ๔/ ๒๕๖๐ โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณจรัส  สุวรรณเวลา เป็นประธานการประชุม  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา  ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษาเข้าร่วมประชุม  ณ ห้องประชุมสิปปนนท์  เกตุทัต สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 

 
 
 

 

ในการประชุม ดร. สมศักดิ์  ดลประสิทธิ์  รองเลขาธิการสภาการศึกษา ได้นำเสนอปัญหาการศึกษาของไทย และนายตวง อันทะไชย  นำเสนอผลการดำเนินงานด้านการศึกษาของ สนช.  และ ผศ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ  นำเสนอสรุปหลักการปฏิรูปประเทศ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



ศาสตราจารย์กิตติคุณจรัส  สุวรรณเวลา  กล่าวว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา ๑) แต่งตั้งรองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งรองประธานฯ คนที่ ๑ คือ นายวิวัฒน์  ศักยกำธร  รองประธานคนที่ ๒ คือ รศ.ดารณี อุทัยรัตนกิจ  ๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นและสื่อสารสังคม ซึ่งผู้ที่ได้เป็นประธานคณะอนุฯ ชุดนี้ คือ นายตวง อันทะไชย และ ๓) แต่งตั้งโฆษกประจำคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา คือ ผศ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ และนางภัทรียา สุมะโน  นอกจากนี้ยังมีการเลือกประธานคณะอนุกรรมการทั้ง ๕ ชุด สรุปผล  ดังนี้  ๑) คณะอนุกรรมการเด็กเล็ก มีศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นประธาน ๒) คณะอนุกรรมการกองทุน มีนายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล เป็นประธาน  ๓) คณะอนุกรรมการครู มีนายวิวัฒน์  ศัลยกำธร เป็นประธาน ๔) คณะอนุกรรมการการจัดการเรียนการสอน มี ผศ. ยุวดี  นาคะผดุงรัตน์  เป็นประธาน ๕) คณะอนุกรรมการโครงสร้าง  มี นายไพรินทร์  ชูโชติถาวร เป็นประธาน โดยคณะอนุกรรมการแต่ละชุดจะไปหารือเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมทำงานเพิ่มเติม โดยจะนำรายชื่อดังกล่าวมาเสนอต่อที่ประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ในแต่ละคณะอนุกรรมการฯ  ควรจะมีไม่เกิน ๑๕ คน  นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้คิดหาช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น / ประชาพิจารณ์ ปฏิรูปการศึกษา ทาง Facebook  และ Line  โดยผู้สนใจแสดงความคิดเห็นสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยการค้นหาคำว่า ร่วมปฏิรูปการศึกษา  แล้วแสดงความคิดเห็น 

 
   
 
 
 
 
 
 
 

“การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นโอกาสสุดท้าย หากไม่เร่งดำเนินการให้สำเร็จ ประเทศชาติก็ยากที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือแข่งขันกับประเทศอื่นได้ คณะกรรมการชุดนี้ มีเวลาทำงาน ๒ ปี  ภายใน ๑ ปี เรื่องกองทุนต้องสำเร็จ และหากเรื่องไหนสามารถทำได้ก่อนก็จะเสนอแนะรัฐบาล เพื่อให้ความเห็นชอบก่อน ไม่ต้องรอ ถึง ๒ ปี คณะกรรมการฯ ทุกคนจะทุ่มเทเต็มที่ ให้ได้แนวทางที่มีประสิทธิภาพ  และทำได้จริง  และขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน  โดยเฉพาะสื่อมวลชนให้ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญ  มีส่วนร่วม  คณะกรรมการ ฯ ชุดนี้ พร้อมรับฟังความคิดเห็น”   

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด