สรุปประเด็นการสนทนารายการรอบรั้วเสมา ช่วงผู้บริหารสนทนา ประเด็น กอปศ. เดินหน้า พ.ร.บ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

image

 

สรุปประเด็นการสนทนารายการรอบรั้วเสมา ช่วงผู้บริหารสนทนา สถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 KHz ประเด็นเรื่อง กอปศ. เดินหน้า พ.ร.บ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา วันศุกร์ที่ ๑๗พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๘.๔๕ น. โดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานอนุกรรมการกองทุน คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

ผู้ดำเนินรายการ                           : รายการรอบรั้วเสมา ช่วงผู้บริหารสนทนา ในวันนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานอนุกรรมการกองทุน คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา สนทนาประเด็น“ กอปศ. เดินหน้า พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” ก่อนอื่นอยากขอให้ท่านอธิบาย  เรื่อง พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาอยู่ในหน้าที่ภารกิจของใคร และมีการตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้างคะ

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ       : ขอท้าวความเรื่องความเป็นเล็กน้อย พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดบทบัญญัติให้มีกองทุนเพื่อเข้ามาช่วยผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู  ทั้งนี้มีความตั้งใจเข้ามาเสริมสิ่งต่าง ๆ ที่อาจได้ทำกันมาก่อนแล้ว โดยขณะนี้กำลังทำเรื่องการศึกษาภาคบังคับ ตั้งแต่ช่วงระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ ๓ และช่วงประถมศึกษาปีที่ ๖ จะเน้นหนักทางด้านให้ค่าเล่าเรียนการศึกษาฟรี รวมถึงอาหารกลางวัน เป็นต้น แต่ยังพบอุปสรรคทางด้านการเข้าถึงเด็ก เด็กอาจจะมีฐานะยากจน จึงไม่สามารถมีค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเดินทาง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และเยาวชนในบางวัยที่ต้องการศึกษาต่ออาจจะยังทำไม่ได้ เรื่องนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการยกร่างกฎหมายทางด้านการศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายเสร็จแล้วและกำลังอยู่ในช่วงเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

ผู้ดำเนินรายการ                           : หลักใหญ่ใจความก็คือ เป็นกรณีที่เหลือหลุดรอดมาจากรายการอื่น ๆ ที่เข้ามีการใช้งบประมาณโดยปกติใช่ใหมครับ

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ       : ใช่ครับ ทั้งสองอย่าง ส่วนหนึ่งอย่างที่คุณวีรพัชร์ได้กล่าวไว้    เป็นสิ่งที่มีการดำเนินการแล้วหรืออาจยังดำเนินการไม่มากพอ และขณะนี้มีภารกิจใหม่ตามพระราชบัญญัติ         ปี พ.ศ.  ๒๕๖๐ ที่ได้กล่าวถึง เด็กเล็กก่อนวัยเรียน การศึกษาที่ขาดแคลนพื้นฐานด้านทุนทรัพย์ เป็นต้น  เรื่องนี้จะเป็นภารกิจใหม่ ที่เราคิดไว้ ซึ่งทรัพยากรที่เราสามารถระดมได้ก็จะแบ่งใช้อย่างละครึ่ง ครึ่งแรก           คือ เพิ่มเติมให้กับกลไกและกิจการต่าง ๆ ในภารกิจเดิม ส่วนครึ่งหลังคือ ใช้กับภารกิจใหม่

ผู้ดำเนินรายการ                            : อันนี้ถือว่าเป็นของใหม่ ที่ผ่านมากองทุนเพื่อการศึกษา เราเคยมีลักษณะแบบนี้ไหมครับ

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ        : ถ้าพูดถึงขอบเขต ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ แน่นอนเราจะต้องมีความพยายามที่จะทำวัตถุประสงค์ในลักษณะอื่นซึ่งอาจจะมีขอบเขตที่มีความจำกัดและเล็กกว่า อย่างเช่น กยศ.  จะเข้าไปช่วยผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์โดยให้เงินยืมกับผู้เรียนโดยกลุ่มเป้าหมายมุ่งที่เด็ก และไม่ได้มีขอบเขตกว้างอย่างที่เรากำลังจะทำ หรือจะมีหน่วยงานประชาสังคม NGO หรือ หน่วยงานเอกชน มีลักษณะที่คล้ายกันแต่จะมีขอบเขตและความจำกัดที่เล็กกว่ามาก

ผู้ดำเนินรายการ                             : อันนี้จะครอบคลุมกระทั่งก่อนวัยเรียนจนกระทั่งจบการศึกษาเลยใช่ไหมครับ

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ         : ครับ คือ จริง เราเริ่มทำตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนกระทั่งถึงอายุมากหน่อยแต่เขามีความต้องการอยากเสริมทักษะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อยากจะเป็นช่างวิทยุ แต่ก็มีเหตุที่ไม่สามารถเสริมทักษะได้เนื่องจากขาดทุนทรัพย์
 
ผู้ดำเนินรายการ                             : ที่มาของกองทุนจะได้มาจากที่ใดบ้างครับ

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ        : หมายถึงแหล่งเงินใช่ไหมครับ ด้านพระราชบัญญัติเรื่องนี้    ได้มีการเขียนเปิดกว้างไว้หลายทาง เช่น งบประมาณแผ่นดิน นอกจากนั้นมีการเปิดช่องให้ประชาชน อาทิ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล สามารถบริจาคเงินเข้ามากองทุน และเราจะเขียนใบกำกับภาษีเพื่อให้สามารถนำ ใบกำกับภาษีมาลดหย่อนภาษีได้ รวมทั้ง การออกสลากการศึกษา

ผู้ดำเนินรายการ                            : อยากให้ท่านช่วยยกตัวอย่างให้เห็นภาพ กองทุนนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะนำไปใช้และบริหารอย่างไร รวมถึงรูปแบบการจัดการหลักและการใช้จ่ายอย่างไรบ้างครับ
 
ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ        : กองทุนนี้จะเป็นกองทุนนิติบุคคลจะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน ที่มีคนทำงานเต็มเวลาจำนวนหนึ่ง กองทุนนี้มีการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการนโยบายกองทุนในร่างพระราชบัญญัติมีการเขียนไว้ว่า มีจำนวน ๒ คน โดยผู้นำของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕ คน ยกตัวอย่าง เช่น ปลัดกระทรวงการคลัง, ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำและรับผิดชอบเรื่องนี้ ทั้งนี้รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิและประธานโดยแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี อยากให้เป็นกลไกที่เพิ่มเติมที่เสริมราชการ และก็มีตัวของสำนักงานซึ่งแต่ละสำนักงานจะมีผู้นำของตัวเอง อาทิ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการสำนักงาน ฯ  ที่นี้หน่วยงานต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลค่อนข้างดีว่ามีใครบ้างที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือ และต้องประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน และในเวลานี้ที่เราได้ประมาณการรวมถึงเยาวชนที่จะต้องได้รับการเสริมจากกองทุน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด ๔ ล้านคน โดยจำนวน ๔ ล้านคน ก็จะมีกลุ่มวัยต่าง ๆ เช่น ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงอายุ ๓ ขวบ มีเด็กเล็กทั้งหมดประมาณ ๒ ล้านเศษ จะมีข่ายเด็กที่ยากจน มีจำนวนประมาณการ ๓ แสนคน เป็นต้น

ผู้ดำเนินรายการ                             : ในกลุ่มเป้าเด็กเล็ก เรามีกฎหมายมีการบริหารหรือให้ประโยชน์ในด้านกองทุนช่วยเหลืออย่างไรบ้างคะ
 
ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ         : กรรมการกองทุนที่ได้รับ แต่ที่จะเน้นในเรื่องทางด้านมารดาของเด็ก ในวัตถุประสงค์ คือ อยากให้เด็กในวัยนี้พัฒนาทางด้านร่างกาย การศึกษาต่าง ๆ พบว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราละทิ้งไป ตั้งแต่เด็กอายุ ๓  - ๕ ขวบ เพราะฉะนั้นควรจะต้องเน้นที่มารดา ครอบครัว หรือสถานที่ดูแล และตั้งแต่วัยเด็ก อายุ ๖-๑๐ ขวบ ก็จะมีเด็กอยู่นอกการศึกษา คือ เด็กที่ออกจากการศึกษากลางคัน อาจจะออกมาด้วยปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นต้น ตลอดจนกระทั่งเด็กที่อยู่ในโรงเรียนแล้วก็จะมีอุปสรรค  อาทิ ไม่มีค่าเดินทาง ไม่มีค่าชุดพลศึกษา ชุดนักเรียน  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเด็กอยู่ในช่วงวัยเยาวชน อายุ ๑๕- ๑๘ ปี บางคนจบระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และไม่ศึกษาต่อเพราะขาดแคลนเรื่องทุนทรัพย์ ขอบเขตค่อนข้างจะกว้างและการจัดการศึกษาของเราในขั้นเบื้องต้น จำนวน ๔ ล้านคน

ผู้ดำเนินรายการ                             : ยอดกองทุนควรจะต้องมียอดประมาณเท่าไร และต่อจากนี้ควรจะต้องทำอย่างไรต่อไปครับ 

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ         : ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ จะต้องมีทุนไม่ต่ำกว่า ๒ หมื่นกว่าล้านบาท

ผู้ดำเนินรายการ                             : จากกองทุนที่เป็นหมื่นล้านบาท สามารถที่จะให้กับเด็กสามารถแจ้งความประสงค์ที่จะขอใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้อย่างไรบ้าง กองทุนนี้จะต้องผ่านสถานศึกษา หรือ ต้องผ่านคณะกรรมการอะไรบ้าง ถึงจะสามารถนำเงินกองทุนไปใช้สำหรับเรียนต่อได้

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ        : ผมขออนุญาตตอบเป็น ๒ ตอน และที่เราคาดการณ์ไว้ไม่ได้หมายความว่าเงินจะต้องมารวมกับศูนย์กลางเฉพาะกองทุนนี้ มันอาจจะผ่านทางกลไกต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว กองทุนนี้จะเป็นตัวที่ชี้เป้า และจะต้องมีการครอบคลุมที่ดี การที่จะทำคนเดียวก็คือจะไปเสริมมากกว่า แล้วก็ร่วมมือกับกลไก และที่เราลงพื้นที่ พบว่า ก็มีกลไกที่สำคัญมากที่จะนำประสิทธิผลมาสู่หน่วยงาน เช่น หน่วยงานท้องถิ่น  อาทิ อบต. อบจ. สมัชชา หรือเครือข่ายต่าง ๆ เพราะบุคคลเหล่านี้จะมีความคุ้นเคย บางทีอาจจะต้องใส่กลไก   พวกนี้ในการทำงาน เราทำหน้าที่ชี้เป้าหมาย ส่วนรายละเอียดในการทำงานร่างพระราชบัญญัติมีเขียนตามชุด หลักเกณฑ์จะออกโดยทางคณะกรรมการกองทุน เพื่อให้มีความคล่องตัว รายละเอียดเมื่อปฏิบัติงานสักระยะหนึ่งอาจจะต้องทำการปรับปรุง หลังจากที่เราลงพื้นที่ในบางกรณีก็ดูเหมือนว่า ทางครอบครัวบางครอบครัวพอมีฐานะที่สามารถดูแลเด็กได้ แต่ว่าในหลายกรณีจะมีครอบครัวที่มีฐานะทางด้านการเงิน ส่งผลกระทบประสิทธิผลอาจจะดูไม่ดีนัก อันนี้อาจจะมองถึงเรื่องโรงเรียน หรือกลไกอื่น ๆ ที่พูดไว้ก่อนหน้านี้ คือ กลไกท้องถิ่น อย่างนี้เป็นต้น    และตอนนี้กำลังเป็นเรื่องที่ยกร่างพระราชบัญญัติ รวมทั้งจะต้องมีการติดตามตามกฎหมายลูก  เรียกว่า ระเบียบที่คอยสนับสนุนของกองทุนต่อไป

ผู้ดำเนินรายการ                            : เรียกว่าความต้องการที่จะใช้เงินกองทุนอาจจะมาจากหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะเครือข่ายของชุมชนที่แจ้งความประสงค์มาและมาเข้าสู่บริหารการจัดการของคณะกรรมการของกองทุนได้ด้วยเช่นใช่ไหมคะ

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ        : ใช่ครับ หลักการคิดเป็นเช่นนั้นครับ แต่ว่าในทางประหยัดแน่นอน ถ้าเรามีเงินอย่างที่เราพูดถึงเราจะต้องคิดถึงเรื่องการกำหนด ดูแล พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบได้        และดูถึงเรื่องกลไกอื่น ๆ ที่สามารถเข้าถึงและควรจะต้องเป็นกลไกที่มีคุณลักษณะค่อนข้างดีและสามารถตรวจสอบมีทั้งการลงบัญชี บันทึกรายละเอียดต่าง ๆ และควรจะต้องมีการลงระบบการลงทะเบียนเพื่อที่จะทำให้การทำงานมีขอบเขตมากขึ้น
 
ผู้ดำเนินรายการ                            : ถ้าผู้ที่สนใจ อาทิ หน่วยงาน ภาคีเครือข่าย หรือ ชุมชนต่าง ๆ หากมีความประสงค์ร่วมมีโอกาสใช้เงินกองทุนเหล่านี้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในชุมชน สามารถศึกษาและดูรายละเอียดกับทางคณะกรรมการกองทุนนี้ได้จากข้อมูลจากช่องทางไหนใดบ้าง

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ        : ผมคิดว่าสามารถศึกษาได้ในหลักคิดก่อน ร่างพระราชบัญญัติและดูในเรื่องกฤษฎีกา และไปดูทางด้านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประมาณเดือนเมษายน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ผมคิดว่าประมาณราวกลางปีหน้า และคณะกรรมการกองทุนก็จะออกชุดหลักเกณฑ์มาเพื่อนำข้อมูลมาเผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ
 
ผู้ดำเนินรายการ                            : ขณะนี้กองทุนเพิ่งเริ่มจะเป็นก่อตั้งก่อร่างดูแลในเรื่องของการเดินหน้าการทำพระราชบัญญัติเพื่อให้รัดกุมอย่างนั้นใช่ไหมคะ

ประธานอนุกรรมการกองทุน คกก.ฯ        : ถูกต้องครับ กองทุนยังไม่เกิด คือ ตอนนี้ร่างพระราชบัญญัติก่อนออกมาประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ หลังจากนั้นถึงจะแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนชุดชั่วคราว หลังจากนั้นก็จะมีชุดคำสั่งที่แบ่งตามหลักเกณฑ์ในช่วงระยะเวลา ๙๐ วัน โดยหลักเกณฑ์ตัวนี้จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง

ผู้ดำเนินรายการ                             : ถ้ามีความคืบหน้าของเรื่องกองทุนพระราชบัญญัติความเสมอภาคทางการศึกษาที่จะให้ภาคประชาชนรับทราบเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนทางด้านการศึกษา จะขอให้ท่านช่วยมาบอกเล่าให้กับผู้ฟังอีกครั้งคะ ในวันนี้ขอขอบพระคุณ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานอนุกรรมการกองทุนคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด