สกศ. เดินหน้าประชาพิจารณ์ (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. .... ภาคตะวันออก

image

 
 
 
 

 

      วันนี้ (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐) ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (นางสาวสมรัชนีกร อ่องเอิบ) เป็นประธานการประชุมและนำเสนอ (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. … โดยมีผู้บริหาร ศึกษาธิการจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เข้าร่วมประชุมกว่า ๑๐๐ คน ณ ห้องชเลศวร ชั้น ๒ โรงแรมซีบรีซ จอมเทียน รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี 

 
 
 


            นางสาวสมรัชนีกร อ่องเอิบ กล่าวว่า (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. … เป็นมาตรฐานการศึกษาของชาติครอบคลุมการศึกษาทุกระดับ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ รวมทั้งต่อยอดนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ สามารถสร้างทักษะเด็กไทย 3Rs x 8Cs x 2Ls โดยที่ 3Rs ประกอบด้วยการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น 8Cs ประกอบด้วยทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญา ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ ทักษะการเปลี่ยนแปลง และ 2Ls ประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้ ทักษะภาวะผู้นำ พร้อมทั้งคนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคงและพอพียง ตลอดจนคนไทยร่วมพัฒนาสังคมสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน

 
   
   
   
   


    
         เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ จำเป็นต้องกลับมามุ่งเน้น “การจัดการศึกษา” สร้างให้เด็กไทยมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการบูรณาการจากทุกภาคส่วนในการผลิตและพัฒนากำลังคนสู่อนาคต คำนึงการก้าวสู่การเป็นสังคมดิจิทัล ดังนั้นจำเป็นต้องมีการการผลิตและการพัฒนากำลังคนของประเทศให้สามารถแข่งขันกับเวทีโลก โดยเฉพาะการปรับแนวคิดและความเชื่อเดิมมุ่งสู่การพัฒนาการศึกษาร่วมกัน เพื่อปรับปรุง พัฒนา และขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันกำหนดคุณลักษณะกำลังคนที่ผู้ประกอบการต้องการในอนาคต 

 
 
 


    
         ที่ประชุมมีการนำเสนอในประเด็นเกี่ยวกับการเตรียมกำลังคนที่น่าสนใจ โดยมีวิทยากร ๒ ท่าน คือ นายเสมา พูลเวช Senior Facilitator เอสซีจี เคมีคอลล์ นำเสนอ “ความต้องการกำลังคนของผู้ประกอบการ”ว่า ควรสร้างเด็กให้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการเรียน ผ่านผู้สอนที่มีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) โดยการสร้างเป้าหมาย (Goal) ที่ชัดเจนให้นักเรียนมองเห็นเป้าหมายของตนเพื่อสู่การปฏิบัติ (Action) สอนความรู้องค์รวมให้นักเรียนให้สามารถเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริง ตลอดจนการมีจิตสาธารณะ เพื่อยกระดับคนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลต่อชุมชนและสังคม นอกจากนี้นายยุทธพันธ์ โคตรพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพูด กล่าวถึงศักยภาพของภาคการศึกษาในการตอบสนองกำลังคนของผู้ประกอบการไว้ว่า ถ้าภาคการศึกษาต้องการพจะทำให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้ เป็นคนดี คนเก่ง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ รองรับ ๑๐ กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิด (mind set) ของครูและนักเรียนให้มีลักษณะการเรียนรู้ตลอดเวลา เน้นกระบวนการเรียนรู้ สร้างการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ทั่วทั้งระดับ 

 
 
 
 
 
 
 
 



             ในช่วงบ่ายมีการแบ่งกลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. .... คือ กลุ่มที่ ๑ ผู้บริหาร (ผู้บริหารศึกษาธิการจังหวัด/เขตพื้นที่/สถานศึกษา) กลุ่มที่ ๒ ศึกษานิเทศก์/ครู และกลุ่มที่ ๓ ผู้ทรงคุณวุฒิ/ภาคประชาชนจังหวัด/นักวิชาการ/สถานประกอบการ/สภาอุตสาหกรรมฯ/สภาหอการค้าฯ/สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)/สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.)/สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สู่การปรับปรุงและพัฒนา (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาของชาติให้มีความสมบูรณ์ สอดคล้องกับบริบทแต่ละหน่วยงาน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 


image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด