สกศ. ร่วมกับ UNESCO จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทำความเข้าใจ WEI ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

image

วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ นายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดทางการศึกษาของประเทศไทย” ร่วมกับ UNESCO ภายใต้โครงการ World Education indicators (WEI) ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓ – ๕ เมษายน ๒๕๖๐ ณ โรงแรมแซนดาเล รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่จัดการศึกษาทั้งในและนอกกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ รวม ๖๐ คน

 

 
   
 
   
   
 
   
   
 
   

 

 

         สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมมือกับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Institute for Statistics : UIS) ในการจัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดตามแบบจัดเก็บของ UIS ของโครงการ World Education Indicators (WEI) ที่จัดจำแนกข้อมูลตามมาตรฐานการจำแนกระดับและประเภทการศึกษาระดับนานาชาติ (The International Standard Classification of Education : ISCED 2011) โดยให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ต่อไป ซึ่งการประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ จะทำให้ผู้จัดเก็บและผู้ใช้ข้อมูลมีความรู้ ความเข้าใจถึงแบบจัดเก็บของ UIS และการจัดหมวดหมู่ระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยใช้ ISCED 2011 เพื่อที่จะได้มีข้อมูลในฐานข้อมูลของ UIS ในการเปรียบเทียบกับนานาประเทศ สำหรับนำมาวางแผนและพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ มีการอภิปราย เรื่อง Sustainable Development Goals for Education 2030 (SDG4) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา โดยวิทยากรอภิปรายได้แก่ นางอรวรรณ สุทธางกูร ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ และนางสาวสุวรรณี วังกานต์ ผู้อำนวยการสถิติสาธารณมติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และการอภิปราย เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ และบูรณาการข้อมูลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ วิทยากรอภิปราย คือ นางสาววรวรรณ พลิคามิน ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 
   
   
   
   
   
   
   
   

 วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ ภาคเช้า Mr. Roshan Bajracharya ผู้แทนจาก UNESCO Institute for Statistics (UIS), UNESCO Bangkok บรรยายเรื่อง SDG4 Monitoring และ UIS Questionnaire ส่วนภาคบ่ายเป็นการอภิปรายเรื่อง ระบบการจัดการฐานข้อมูล และสภาพรายการข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทย โดย นางราณี จีนสุทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา นายพิภพ ชัยสุภา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นายวัชรินทร์ ผละพล ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรบุคคล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการโดย นางสาวสมรัชนีกร อ่องเอิ่บ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นอกจากนี้ยังมีการประชุมกลุ่มย่อยฝึกปฏิบัติและระดมความคิดเห็น ในเรื่องของการจัดการข้อมูลนักเรียน นักศึกษา การจัดการข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา และการจัดทำตัวชี้วัดทางการศึกษา

วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๐ มีการอภิปรายเรื่อง ผลการดำเนินงานการจัดการข้อมูลด้านการศึกษา (Data Center UIS) และเรื่อง กรอบการดำเนินงานโครงการ World Education Indicators 2017 (WEI 2017)  โดยนายภาณุพงศ์  พนมวัน กลุ่มพัฒนาระบบคลังข้อมูลทางการศึกษาและพัฒนามนุษย์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รวมถึงสรุปการประชุม 

ผลการประชุมสรุปได้ว่า การจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดและสถิติการศึกษามีการจำแนกระดับ และประเภทการศึกษาระดับนานาชาติ ISCED 2011 เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบในระดับนานาชาติ ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลทางการศึกษาจากหน่วยงานที่จัดการศึกษามากกว่า ๕๐ หน่วยงาน รวมถึงหน่วยงานที่จัดการศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา ๒๑ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และข้อมูลที่จัดเก็บจำแนกในมิติระดับการศึกษา อายุ เพศ และพื้นที่ โดยข้อมูลที่จะจัดเก็บในปีต่อๆ ไป แบ่งข้อมูลออกเป็น ๕ ชุด (จัดเก็บข้อมูล ณ ๑๐ มิ.ย. ของทุกปี) ประกอบด้วย ๑) ข้อมูลนักเรียนและครูในระดับการขั้นพื้นฐาน (ISCED 0-4) ๒) ข้อมูลนักเรียนและครูในระดับอุดมศึกษา (ISCED 5-8) ๓) ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา ๔) ข้อมูลทางด้านงบประมาณ และ ๕) ข้อมูลหลักสูตร (Data Mapping) 

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าการนำข้อมูลเผยแพร่ลงในฐานข้อมูลของ UIS นั้น ควรจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูล ทั้งความสอดคล้อง ความสมนัยของข้อมูล ความต่อเนื่องกันในแต่ละปี จากทีมสถิติของประเทศไทยและทีมสถิติของ UIS และการจัดทำตัวชี้วัดทางการศึกษาจะต้องผ่านการรับรองจากผู้บริหารก่อนนำเผยแพร่ในฐานข้อมูลของ UIS เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลทางการศึกษาของประเทศไทย ทันสมัยต่อการนำไปใช้งาน ถูกต้อง สามารถอ้างอิงได้ ง่ายต่อผู้ปฏิบัติ ข้อมูลต้องมีความเป็นเอกภาพ เป็นตัวเลขเดียวกัน ที่สามารถใช้ในการวางแผนการศึกษาและการตัดสินใจของผู้บริหารได้ และสามารถบอกถึงจุดยืนหรือตำแหน่งของความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทยได้เมื่อเทียบกับนานาประเทศ

 

 

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด