สกศ. เร่งจัดทำมาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนาและการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย

image

 

          วันนี้ (๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๙) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุม คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับโรงเรียนอนุบาล และศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ โดยมี รองศาสตราจารย์นิตยา คชภักดี เป็นประธาน รองศาสตราจารย์ ดร. สายสุรี จุติกุล อนุกรรมการที่ปรึกษา ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธการสภาการศึกษา นางสาวสมรัชนีกร อ่องเอิบ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ ข้าราชการ สกศ. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต อาคาร ๒ ชั้น ๒ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
 


          ดร. วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับโรงเรียนอนุบาล และสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อต้องการให้ประเทศไทยมีมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติเป็นมาตรฐานของประเทศ ที่ผ่านมามาตรฐานในแต่ละหน่วยงานนำมาใช้แตกต่างกัน ขาดความเชื่อมโยงกัน เพราะมีบริบทของหน่วยงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องการให้แต่ละหน่วยงานเกิดการดำเนินงานที่สอดคล้อง มีการประสานงานเชื่อมโยง เพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรฐานแห่งชาติ อันนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

 

         
          รองศาสตราจารย์ นิตยา คชภักดี ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า (ร่าง) มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ สำหรับโรงเรียนอนุบาลและสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ๑) ช่วงเด็กแรกเกิด – ๒ ปี (๒ ปี ถึง ๒ ปี ๑๑ เดือน) ประกอบไปด้วยมาตรฐาน ๓ ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และคุณภาพเด็ก ๒) ช่วงเด็ก ๓ ปี – ก่อนเข้าประถมศึกษาปีที่ ๑ ประกอบไปด้วยมาตรฐาน ๓ ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และคุณภาพเด็ก

 

          นางสาวสมรัชนีกร อ่องเอิบ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กล่าวว่า คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนาและการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับโรงเรียนอนุบาล โดยมี รองศาสตราจารย์นิตยา คชภักดี เป็นประธาน อำนาจหน้าที่มีดังนี้ ๑) วิเคราะห์มาตรฐานคุณภาพของอาเซียนร่วมกับมาตรฐานภายในประเทศและมาตรฐานสากลอื่น ๆ ๒) ยก ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย และกลไกการใช้มาตรฐาน ๓) กระบวนการดำเนินงานให้ประสานงานร่วมกับคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา  และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับโรงเรียนอนุบาล และคณะอนุกรรมการประสานและส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่สอดคล้องกันและมีการประสานงานและเชื่อมโยงกัน ๔) จัดประชาพิจารณ์ให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ข้อเสนอแนะ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับโรงเรียนอนุบาล ๕) นำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับโรงเรียนอนุบาล เสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ให้ความเห็นชอบ แล้วนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พิจารณา และ ๖) ดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร

 
   
   
   
   

 

          ในส่วนของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนาและการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมี รองศาสตราจารย์นิตยา คชภักดี เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ ๑) วิเคราะห์มาตรฐานคุณภาพของอาเซียนร่วมกับมาตรฐานภายในประเทศและมาตรฐานสากลอื่น ๆ ๒) ยก ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย และกลไกการใช้มาตรฐาน ๓) กระบวนการดำเนินงานให้ประสานงานร่วมกับคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และคณะอนุกรรมการประสานและส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่สอดคล้องกันและมีการประสานงานและเชื่อมโยงกัน ๔) จัดประชาพิจารณ์ให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ข้อเสนอแนะ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ๕) นำ ร่าง มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของการเลี้ยงดู การพัฒนา และการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย เสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ให้ความเห็นชอบ แล้วนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พิจารณา และ ๖) ดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร 
 

 
   
   
   
   

 

          การประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นการนำมาซึ่งมาตราฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติที่สามารถเป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ได้จริง มุ่งเน้นคุณภาพของเด็กเป็นหลัก เพื่อเป็นมาตรฐานที่ประเทศไทยสามารถทำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกหน่วยงาน ซึ่งต้องเริ่มต้นจากมาตรฐานตั้งต้น (Input) เช่น กรอบมาตรฐานคุณภาพอาเซียน รวมถึงมาตรฐานที่มีหัวข้อที่สอดคล้องต่อกัน และร่างเป็นมาตรฐานฉบับเดียว 
 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด